ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในวงการอุตสาหกรรม หรือเป็นผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ ถ้าอยู่ในสถานะลูกจ้างด้วยแล้ว วันนี้คุณได้รับการดูแลด้านความปลอดภัยในการทำงานเพียงพอแล้วหรือยัง ?
แทบทุกโรงงานที่ใช้เครื่องจักรกล ในการทำงานร่วมกับมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องที่ทันสมัยซึ่งควบคุมการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ หรือเป็นเครื่องที่ต้องใช้คนเป็นผู้ควบคุมอยู่ตลอดเวลา ความผิดพลาดอันเนื่องมาจากการทำงานย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และนั่นก็หมายถึงอันตรายที่อาจเกิดกับผู้ปฏิบัติงานได้เช่นกัน ทั้งนี้จากสื่อต่าง ๆ ที่เสนอข่าวการได้รับบาดเจ็บ หรือถึงขั้นเสียชีวิตของพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม โดยบรรดาสาเหตุหลาย ๆ อย่างนั้นที่เรามักจะได้ยินบ่อย ๆ ก็คือ ความประมาทของผู้ปฏิบัติงาน หรือไม่ก็ความผิดพลาดของเครื่องจักร ทั้ง ๆ ที่มีข้อบังคับ และกฎหมายสั่งให้โรงงานอุตสาหกรรมกำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยให้กับพนักงานไว้อย่างดีที่สุดแล้ว
ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปติดต่องานกับโรงงานอุตสาหกรรมหลาย ๆ โรงงาน ทั้งอุตสาหกรรมเบา ไปจนถึงอุตสาหกรรมหนัก ซึ่งเมื่อเข้าไปในส่วนการปฏิบัติงานก็แอบไปสังเกตเห็นพนักงานต้องเผชิญความเสี่ยง โดยที่เจ้าตัวหรือผู้ควบคุมงานคาดไม่ถึง รวมทั้งสังเกตเห็นการละเลยในเรื่องของการป้องกันอันตรายในขณะปฏิบัติงานด้วย คราวนี้โอกาสดีจึงนำเอาประสบการณ์ พร้อมด้วยการค้นคว้าข้อมูลการป้องกันอันตรายจากการปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมมาเสนอ
อันตรายที่อาจเกิดกับผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม ที่สังเกตพบได้ง่าย ได้แก่ อันตรายจากการสัมผัส, อันตรายจากการสูดดม (จมูก), อันตรายที่เกิดจากการมอง (ดวงตา/สายตา), อันตรายจากเสียงดัง (หู) ซึ่งทั้งหมดนี้อาจส่งผลกระทบทางด้านร่างกายได้ ตั้งแต่ในระดับการบาดเจ็บจนต้องเสียเลือดเนื้อ บาดเจ็บเรื้อรัง สูญเสียอวัยวะ ไปจนถึงเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตามเมื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงนี้ไม่ได้ สิ่งที่ดีที่สุดก็คือต้องรู้วิธีป้องกันที่ถูกต้อง และไม่ลืมที่จะต้องปฏิบัติตามด้วย
ประเภทของการบาดเจ็บที่เกิดกับมือและนิ้ว |
การบาดเจ็บที่มือ หรือนิ้ว มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในหลายลักษณะ โดยที่เกิดบ่อยที่สุดก็คือ การบาดเจ็บจากการได้รับบาดแผล การบาดเจ็บอันเป็นผลมาจากการสัมผัสสารพิษ หรือความร้อน และการบาดเจ็บที่เกิดกับกระดูก ข้อต่อ การบาดเจ็บจากการได้รับบาดแผล (Traumatic Injuries) บาดแผลที่ได้รับมักเกิดจากการทำงาน หรือใช้เครื่องมือโดยขาดความระมัดระวัง มือ และนิ้วอาจถูกตัด ถูกทับ หรือถูกเจาะ และกรณีเลวร้ายที่สุดก็คือการถูกตัดมือ หรือนิ้วจนขาด ทั้งนี้การถูกบาด หรือถูกตัด อาจก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมา หากถูกตัดที่เส้นประสาท หรือเส้นเอ็น หรือมีเศษวัตถุเข้าไปติดในบาดแผล จนอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ การถูกเจาะ อาจเกิดขึ้นจากเศษวัสดุมีคมที่กระเด็นมาโดน หรือถูกส่วนที่มีความแหลมคมของเครื่องมือเครื่องจักรเจาะจนได้รับบาดแผล ทั้งนี้การถูกเจาะอาจทำให้ผิวหนัง เส้นเอ็น ตลอดจนกระดูก ได้รับความเสียหาย และยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายด้วย การบาดเจ็บที่เกิดจากการสัมผัส (Contact injuries) การบาดเจ็บลักษณะนี้มีผลมาจากการสัมผัสเข้ากับสารทำละลาย, กรด, ของเหลวติดไฟ ตลอดจนวัสดุอื่น ๆ ที่สามารถเผาไหม้ผิวหนังได้ ทั้งนี้หากเป็นสารเคมีก็อาจทำให้เกิดการตอบสนองทางโรคทางผิวหนังในทันที เช่น อาการคัน เกิดแผลพุพอง หรือหากเป็นการสัมผัสวัตถุที่มีความร้อนสูง หรือเย็นจัด ก็จะได้รับการบาดเจ็บได้ การบาดเจ็บซึ่งเกิดผลการสะสม (Carpal tunnel syndrome) เป็นอาการปวดที่มือ และนิ้ว เนื่องจากการถูกแรงกดบนเส้นประสาท อันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวมือ และนิ้วซ้ำ ๆ จุดเดิมเป็นเวลานาน ๆ อาการที่แสดงออกนี้อาจทำให้ไม่สามารถขยับมือ และนิ้วได้เป็นเวลานาน รวมทั้งอาการที่แสดงออกว่าผู้ปฏิบัติงานรู้สึกผิดปกติ เช่น อาการบวม, อาการชาบริเวณมือ และนิ้ว และอาการมึนงง ตาลาย |
การป้องกันอันตรายที่เกิดกับมือและนิ้ว |
ในกระบวนการทำงานของโรงงานอุตสาหกรรม การสัมผัสน่าจะมีโอกาสสูงที่สุดที่จะทำให้ได้รับอันตราย หรือบาดเจ็บมากที่สุด เพราะเราจะต้องใช้มือทำงาน ไม่ว่าจะต้องหยิบจับชิ้นงาน หรือควบคุมเครื่องจักร และอันตรายที่เกิดจากการสัมผัสก็ได้แก่ การสัมผัสสารเคมี/ของเหลวที่เป็นพิษ, การสัมผัสกับความร้อนสูง, การถูกเครื่องจักรหนีบ/ทับ หรือตัด, การสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าแรงสูง และการสัมผัสกับรังสีที่เป็นพิษ เป็นต้น ในขั้นต้นของหลักการด้านความปลอดภัยก็คือ การหลีกเลี่ยงจุด หรือบริเวณที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่าง ๆ นี้ การเรียนรู้เพื่อการป้องกันมือ และนิ้วให้ปลอดภัยจากการทำงาน จึงเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานควรให้ความสนใจ ทั้งนี้มีแนวทางสำคัญ 5 อย่างเพื่อการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการสัมผัสด้วยมือ ดังนี้ 1. การควบคุมทางวิศวกรรม : อุปกรณ์ป้องกัน อย่างเช่น แผงกั้นเครื่องจักร หรือกระจกนิรภัย ถือเป็นวิธีการป้องกันทางวิศวกรรม และเป็นการป้องกันชั้นแรก เพราะอันตรายมักเกิดขึ้นที่จุดปฏิบัติงานหน้าเครื่องจักร ยกตัวอย่างเช่น - การสัมผัสส่วนมีคมของเครื่องจักร เช่น เครื่องตัดด้วยใบเลื่อย, เครื่องเจาะ หรือสเก็ดโลหะจากเครื่องกลึง เป็นต้น - การถูกเครื่องปั๊ม เครื่องตอก หนีบทับมือ นิ้ว ด้วยแรงกดสูง - การสัมผัสเข้ากับ เพลา หรือแกนหมุนซึ่งกำลังหมุนอยู่ด้วยความเร็วสูง - การสัมผัสเข้ากับเครื่องจักรที่มีอุณหภูมิสูงขณะทำงาน เช่น เครื่องจักรไอน้ำ, หม้อต้มความดันสูง หรือวาล์วไอน้ำความดันสูง เป็นต้น อุปกรณ์ป้องกันควรได้รับการติดตั้งที่เครื่องจักร ในจุดที่มือของผู้ปฏิบัติงานมีโอกาสจะไปสัมผัสได้ หรือส่วนของเครื่องจักรอาจเคลื่อนที่มาโดนได้ ในทำนองเดียวกัน การออกแบบอุปกรณ์ป้องกันก็ต้องแน่ใจได้ว่าจะไม่มีโอกาสที่มือ หรือนิ้วจะได้รับอันตรายได้ อย่างไรก็ตามยังคงต้องคำนึงถึงความสะดวกในการซ่อมบำรุงเครื่องจักรด้วย เพราะเหตุการณ์ที่มักเกิดขึ้นก็คือ อุปกรณ์ป้องกันถูกถอดออก เพื่อการซ่อมบำรุง แต่ไม่มีการใส่เข้าไปไว้เหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าเราจะสามารถใส่อุปกรณ์ป้องกันได้ทุกกรณีไป เพราะอุปกรณ์ป้องกันอาจบดบังการทำงานของเครื่องจักร หรืออาจทำให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานไม่สะดวก หรือด้วยเหตุผลอื่นใดก็ตาม ดังนั้นทางเลือกหนึ่งก็คือการใช้เซนเซอร์ตรวจจับ เพื่อให้ส่งสัญญาณเตือนเมื่อมีใครเข้าใกล้จุดอันตราย นอกจากนี้ในบางงานก็อาจออกแบบระบบเสริมใหม่เพื่อลดความเป็นไปได้ที่มือ หรือนิ้วจะได้รับบาดเจ็บ เช่น การออกแบบระบบป้อนวัสดุอัตโนมัติแทนการใช้มือป้อน เป็นต้น 2. การให้ความรู้-ฝึกอบรม ผู้ปฏิบัติงานควรทำความเข้าใจถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้จากการปฏิบัติงาน และจัดให้มีส่วนของการตรวจสอบด้านความปลอดภัยอยู่ในส่วนหนึ่งของงานที่ต้องทำทุก ๆ วัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องจักรบางชนิดซึ่งต้องดูแลเอาใจใส่อยู่เสมอเพื่อให้คงสภาวะด้านความปลอดภัยอยู่เสมอ การขาดความใส่ใจ จึงมักเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ ทั้งนี้มีหลักการตัวอย่างซึ่งสามารถนำไปใช้เพื่อให้ความรู้ และฝึกอบรมให้กับผู้ปฏิบัติงานเพื่อป้องกันการได้รับอันตรายจากการทำงานดังนี้
ถุงมือแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Disposable Groves) ถุงมือประเภทนี้ส่วนใหญ่ทำจากยางธรรมชาติ หรือยางสังเคราะห์ มีความบาง แต่ยืดหยุ่นสูง เพื่อช่วยลดแรงตึง และความเมื่อยล้าของผู้สวมใส่ และแม้จะเป็นแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง แต่ก็มีความทนทานสูง และยังมีข้อกำหนดจากหน่วยงานด้านความปลอดภัยนานาชาติให้ต้องสามารถทนต่อสารเคมีชนิดต่าง ๆ ได้ด้วย และอุตสาหกรรมที่ใช้ถุงมือประเภทนี้มากก็คือ อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมทางการแพทย์ |
ข้อมุล วิบุญโปรดักส์
ยินดีต้อนรับสู่ คลังความรู้ด้านความปลอดภัย Safety Shoe Safety Knowledge Center (http://www.siamsafetyplus.com/forum/) | Powered by Discuz! 7.0.0 |