สัญลักษณ์ที่ติดบนภาชนะบรรจุสารเคมีและวัตถุอันตราย | ||
(Hazardous Material) | ||
| ||
[td=200,200,150] สัญลักษณ์ | ความหมาย | ความเสี่ยงอันตราย |
วัตถุระเบิด ระเบิดได้เมื่อถูกกระแทกเสียดสี หรือถูกความร้อน เช่น ทีเอ็นที ดินปืน ดอกไม้ไฟ | - รังสีความร้อน - แรงอัดอากาศ - สะเก็ดระเบิด | |
ก๊าซไวไฟ ติดไฟง่ายเมื่อถูกประกายไฟ ก๊าซหุงต้ม ก๊าซไฮโดรเจน ก๊าซมีเทน ก๊าซอะเซทีลีน | - รังสีความร้อน - แรงอัดอากาศ - สะเก็ดเศษชิ้นส่วนภาชนะบรรจุ - อาจเกิดภาวะขาดออกซิเจน | |
ก๊าซไม่ไวไฟและไม่เป็นพิษ ไม่ไวไฟไม่เป็นพิษแต่อาจเกิดระเบิดได้ หากภาชนะบรรจุถูกกระแทกอย่างแรงหรือ ได้รับความร้อนสูงจากภายนอก เช่น ก๊าซออกซิเจน ก๊าซไนโตรเจนเหลวก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ | - เกิดบาดแผลเนื่องจากสัมผัสของเหลว เย็นจัด - แรงอัดอากาศ - สะเก็ดเศษชิ้นส่วนภาชนะบรรจุ | |
ก๊าซพิษ อาจตายได้เมื่อสูดดม เช่น ก๊าซคลอรีน ก๊าซแอมโมเนีย ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์ | - เป็นพิษหรือกัดกร่อน - แรงอัดอากาศ - สะเก็ดชิ้นส่วนภาชนะบรรจุ - อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม | |
ของเหลวไวไฟ ลุกติดไฟง่ายเมื่อถูกประกายไฟ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ทินเนอร์ อะซิโตน ไซลีน | - รังสีความร้อน - สะเก็ดเศษชิ้นส่วนภาชนะบรรจุ - อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม | |
ของแข็งไวไฟ ลุกติดไฟง่าย เมื่อถูกเสียดสีหรือ ได้รับ ความร้อนสูง ภายใน 45 วินาที เช่น ผงกำมะถัน ฟอสฟอรัสแดง ไม้ขีดไฟ | - อาจก่อให้เกิดการระเบิด ของผงฝุ่นสารเคมี - เมื่อลุกไหม้จะสลายตัวให้ก๊าซพิษ | |
วัตถุที่เกิดการลุกไหม้ได้เอง ลุกไหม้ได้เองเมื่อสัมผัสกับ อากาศภายใน 5 นาที เช่น ฟอสฟอรัสขาว ฟอสฟอรัสเหลือง โซเดียมซัลไฟด์ | - เมื่อลุกไหม้จะสลายตัวให้ก๊าซพิษ - เกิดการลุกไหม้อย่างรุนแรง และมีความร้อนสูง | |
วัตถุที่ถูกน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ ถูกน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟหรือ ลุกติดไฟ ได้เองเช่น แคลเซียมคาร์ไบต์ โซเดียม ลิเธียม แมกเนเซียม | - ทำปฏิกิริยารุนแรงกับน้ำ | |
วัตถุออกซิไดส์ ไม่ติดไฟ ไม่ระเบิด แต่ช่วยให้สารอื่น เกิดการลุกไหม้ได้ดีขึ้น เช่นไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ โปแตสเซียมคลอเรต แอมโมเนียไนเตรท | - เมื่อทำปฏิกิริยากับสารอินทรีย์ อาจเกิด การระเบิดหรือลุกไหม้ - เมื่อได้รับความร้อนสูง อาจสลายตัวให้ก๊าซพิษ | |
ออร์แกนิคเปอร์ออกไซด์ อาจเกิดระเบิดได้เมื่อถูกความร้อน เสียดสีหรือถูกกระแทกอย่างรุนแรงและสามารถทำปฏิกิริยารุนแรงกับสารอื่น ๆ เช่น อะซิโตนเปอร์ออกไซด์เมทิลเอทิลคีโตนเปอร์ออกไซด์ ไดเบนโซอิลเปอร์ออกไซด์ | - ไวต่อการระเบิดเมื่อถูก กระแทกหรือเสียดสี - ทำปฏิกิริยารุนแรงกับ สารอินทรีย์ - เมื่อลุกติดไฟจะเกิดการ เผาไหม้อย่างรวดเร็ว | |
วัตถุมีพิษ ของแข็งหรือของเหลวปริมาณเล็กน้อย อาจทำให้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บอย่างรุนแรงจากการกิน สูดดม หรือสัมผัสทางผิวหนัง เช่น อาร์ซีนิค ไซยาไนด์ปรอท สารกำจัดศัตรูพืชโลหะหนักเป็นพิษ | - เป็นพิษ - อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม | |
วัตถุติดเชื้อ วัตถุที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน และอาจทำให้เกิดโรคได้ เช่นขยะติดเชื้อจากโรงพยาบาล เข็มฉีดยาใช้แล้ว เชื้อโรคแอนแทรกซ์ แบคทีเรียไวรัส | - แพร่เชื้อโรค - อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม | |
วัตถุกัมมันตรังสี วัตถุที่สามารถแผ่รังสีที่เป็น อันตรายต่อร่างกาย เช่น โคบอลต์ เรเดียม พลูโตเนียม ยูเรเนียม | - เป็นอันตรายต่อผิวหนัง - มีผลต่อเม็ดเลือด | |
วัตถุกัดกร่อน สามารถกัดกร่อนผิวหนัง และเป็นอันตราย ต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น กรดเกลือกรดกำมะถัน โซเดียมไฮดรอกไซด์ แคลเซียมไฮเปอร์คลอไรด์ | - กัดกร่อนผิวหนังและ ระคายเคืองต่อระบบ ทางเดินหายใจ - ทำปฏิกิริยากับโลหะ ทำให้เกิดก๊าซไวไฟ - อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม | |
วัตถุอื่น ๆ ที่เป็นอันตราย สารและสิ่งของที่ในขณะขนส่งมีความเป็น อันตรายและไม่จัดอยู่ในประเภท 1 ถึง8 หรือสารที่มีการควบคุมอุณหภูมิ ในขณะขนส่งไม่ต่ำกว่า 100องศาเซลเซียสในสภาพของเหลว หรือมีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 240องศาเซลเซียสในสภาพของแข็ง เช่น ยางมะตอยเหลว กำมะถันเหลวขี้เถ้าจากเตาหลอมโลหะ | - อาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพ - อาจก่อให้เกิดความเป็นพิษ - อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม |
ข้อมูลจาก shawpat
ยินดีต้อนรับสู่ คลังความรู้ด้านความปลอดภัย Safety Shoe Safety Knowledge Center (http://www.siamsafetyplus.com/forum/) | Powered by Discuz! 7.0.0 |