Board logo

ชื่อกระทู้: การป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรกล (Working safety with machine) [พิมพ์หน้านี้]

โดย: siamsafetyplus    เวลา: 2009-11-20 17:15     ชื่อกระทู้: การป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรกล (Working safety with machine)

การป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรกล (Working safety with machine)  

การป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรกลหรือการทำการ์ดเครื่องจักรหมายถึง การกระทำใดๆ ก็ตามที่ส่งผลให้เครื่องจักรมีลักษณะหรือคุณสมบัติที่ปลอดภัยต่อการปฏิบัติงานอย่างปกติ โดยไม่มีผลต่อสมรรถนะของเครื่องจักรหรือต่อความชำนาญของเครื่องจักรกลนั้นทำงาน
               
                     การทำการ์ดเครื่องจักรกลมีหลายลักษณะขึ้นอยู่กับลักษณะของเครื่องจักรกล  แบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ
              

  • เครื่องต้นกำลัง (Prime  mover machinery)
  • เครื่องส่งกำลัง (Transmission  machinery)
  • เครื่องจักรทำการผลิต (Production  machinery)
                     เป้าหมายในการออกแบบการ์ดเครื่องจักรกล

       1. ให้การป้องกันอันตรายตั้งแต้ต้นมือ หมายความว่าเครื่องจักรกลต้องไม่ทำงานหากมีสิ่งแปลกปลอมไปอยู่ในบริเวณอันตรายของเครื่องจักรกลนั้น ลักษณะของการ์ดประเภทนี้ให้ความปลอดภัยสูง
       2. ให้การป้องกันมิให้ส่วนของร่างกายเข้าใกล้เขตอันตรายในบางครั้งการควบคุมเครื่องจักรกลในทันทีทันใดอาจจะกระทำไม่ได้หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบ เครื่องจักร ดังนั้นการต่อเติมชิ้นส่วนบางชิ้นส่วนเข้าไปแล้วป้องกันอันตรายได้จึงเป็นทางเลือกที่ดี
       3. ให้ความสะดวกแก่ผู้ทำงานเช่นเดียวกับที่ไม่ใส่การ์ดการ์ดที่ดีไม่ควรรบกวนต่อการทำงานของพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นการมองการจับชิ้นงาน การควบคุมการทำงานและการตรวจวัดขนาด

  4.การ์ดที่ดีไม่ควรขัดขวางผลผลิต การใช้แผ่นกั้นหรือการมีปุ่ม 2 ปุ่มในเครื่องปั๊มขึ้นรูปให้ความปลอดภัยแก่คนงาน อาจจะทำให้ช้าบ้างแต่ก็ต้องยอมรับผลผลิตกับความปลอดภัย ความปลอดภัยต้องมาก่อน
5.การ์ดเครื่องจักรกลควรใช้งานอย่างอัตโนมัติหรือด้วยแรงงานน้อยที่สุดเมื่อเครื่องจักรเริ่มทำงานการ์ดต้องทำงานทันทีถ้ามีการเคลื่อนย้ายเครื่อง ต้องไม่ทำงานอาจจะมีการใช้ตาไฟฟ้าช่วยได้
6. การ์ดควรเหมาะสมกับงานและกับเครื่องจักรนั้นๆ การ์ดที่สวยงามหรูหราและสมบูรณ์แบบนั้น บางครั้งอาจจะไม่มีประโยชน์ในการป้องกันอันตรายเลยเพราะขัดขวางกับการทำงานระหว่างคนกับเครื่อง
                7. พนักงานจำเป็นต้องถอดออก


         8. การ์ดที่ดีควรมีลักษณะติดมากับเครื่องเป็นชิ้นส่วนหนึ่งของ เครื่องมีความปลอดภัยในตัวสูงอยู่แล้ว
       9. การ์ดที่ดีควรเอื้ออำนวยต่อการเติมน้ำมันหรือซ่อมบำรุงฝาครอบเครื่องจักรที่ปิดครอบชุดเฟืองหรือสายพาน ควรทำ ให้เปิดซ่อมบำรุง
       10.การ์ดที่ดีควรทนทานต่อการใช้งานปกติและมีการบำรุงรักษาน้อยที่สุดฝาคือส่วนที่อยู่นอกสุดถ้าไม่แข็งแรง ทนทานอาจเป็นอันตรายต่อชิ้นส่วนภายในได้
       11. การ์ดเครื่องจักรที่ดี ควรป้องกันอันตรายที่ไม่ได้คาดหมายได้ดีนอกจากอันตรายที่มองเห็นเฉพาะหน้า หมายความว่า ต้องป้องกันได้ทุกสถานการณ์
              


                  การทำงานกับเครื่งจักรต้องระมัดระวัง

                     หลักการทำการ์ดเครื่องจักรกล การทำการ์ดให้เกิดความปลอดภัยในการใช้เครื่องจักรกล  มี 4 ประการ สำคัญดังนี้
               
                       ก.  หลักการป้องกันหรือขัดขวางมิให้เข้าไปสัมผัสจุดอันตรายของเครื่อง ได้แก่
              
  • ออกแบบเครื่องจักรโดยวางจุดอันตรายไว้ภายใน
  • จำกัดขนาดของช่องเปิดมิให้มือหรืออวัยวะอื่นเข้าได้
  • จัดช่องวางที่เหมาะสมเพื่อป้องกันมิให้เกิดการหนีบอัด หรือกระแทกของอวัยวะระหว่างผิวงานของเครื่องจักร
  • แผ่นหรือตะแกรงปิดกั้นถาวร  มิให้ส่วนที่มีอันตรายโผล่ หรือเปิดเผย ต่อการสัมผัสได้
              


                  เมื่อมีปัญหาควรร่วมกันคิดเพื่อแก้ไข

                     ข . หลักการควบคุมโดยให้มือออกพ้นจากบริเวณอันตราย ได้แก่
              
  • การใช้ปุ่มควบคุม 2 ปุ่ม
  • การใช้ชุดควบคุมที่อยู่ใกล้  (Remote Control)
                     ค.  หลักการเครื่องจะไม่ทำงานถ้าไม่เอามือออกไปจากเขตอันตราย ได้แก่
              
  • การใช้ระบบลำแสงนิรภัย
  • การใช้ก้านหรือราวป้องกันที่ควบคุมด้วยเครื่องที่เรียกว่าราวนิรภัยหรือฝาครอบนิรภัย
                     ง.  หลักการปัดให้พ้นเขตอันตรายก่อนทำงาน ซึ่งได้แก่
              
  • เครื่องปัดมือออกก่อนตัด
  • ตะแกรงกดหรือกวาดสิ่งกีดขวางก่อนใบมีดจะเคลื่อนไป
              


                  การทำงานกับเครื่องจักรที่ใช้มือต้องมั่นใจว่าปลอดภัย

                     ตัวอย่างประยุกต์การใช้งานหลักการทำการ์ดเครื่องจักรกล

                         1. การจัดช่องเปิดที่ปลอดภัย โดยการทำตะแกรงหรือกรงแผ่นกั้นเพื่อขัดขวางมิให้นิ้วมือเข้าไปสามารถ มองเห็นภายในได้ขนาดที่เหมาะสมของช่องเปิดที่ปลอดภัยเป็นดังนี้
                                                                                                                              

ระยะจากช่องเปิดถึงจุดอันตราย (นิ้ว)

ความกว้างสูงสุดของช่องเปิด (นิ้ว)

0-1.5

1/4

1.5-2.5

3/8

2.5-3.5

1/2

3.5-5.5

5/8

5.5-6.5

3/4

6.5-7.5

7/8

7.5-8.5

11/4

                     2. การใช้ปุ่มควบคุม 2 ปุ่ม สำหรับการทำงานคนเดียว

                       ข้อดีของการใช้ปุ่ม  2 ปุ่ม

                       1. มือของคนงานจะต้องออกจากจุดอันตรายบนเครื่อง
                       2. มือข้างหนึ่งข้างใดปล่อยจากปุ่ม เครื่องจะไม่ทำงาน

                       ข้อจำกัดในการใช้การ์ดแบบนี้

                       1. ใช้ไม่ได้กับงานที่คนงานต้องจับชิ้นงาน
                       2. เมื่อคลัทช์ชำรุด ชุดหัวอัดอาจทำงานซ้ำเป็นครั้งที่  2 อาจทำอันตรายแก่มือคนงานได้

         3. การใช้ระบบแสงนิรภัย โดยการใช้หลักว่าลำแสงถูกบังจะทำให้เครื่องหยุดทำงานไม่ว่ากรณีใดๆ  หากเกิดความบกพร่องต่อระบบแสงทำให้แสงดับ เครื่องจะต้องไม่ทำงาน

                       ข้อดีในการใช้งาน

  1. ไม่มีชิ้นส่วนเครื่องกลที่เป็นวัสดุแข็งหรือโลหะอื่นใดขวางหน้าอยู่ ทำให้สะดวกแก่การทำงานมาก
                2. คนควบคุมเครื่องมองเห็นได้ทั่วถึง
                3. ใช้กับเครื่องขนาดใหญ่ที่ทำงานหลายแบบ  ซึ่งไม่เหมาะกับ การใช้การ์ดชนิดอื่น

                ข้อจำกัดในการใช้การ์ดแบบนี้


       1. จะใช้กับเครื่องตัดที่สามรถหยุดได้ทุกขณะที่หัวตัดหรือหัวอัดชนิดที่กำลังเคลื่อนตัวลงมาเท่านั้น ชนิดที่เคลื่อนแล้วหยุดจะใช้ไม่ได้บริเวณแสงส่องต้องห่างจากจุดอันตรายมากพอที่จะมีเวลาให้เครื่องหยุดก่อนทัน ก่อนมือจะเข้าไปถึง
                       2. ต้องมีจำนวนแสงกว้างพอจึงจะปลอดภัย  ต้องหมั่นตรวจและซ่อมบำรุง  เพราะหากขาดไป 1 ดวงเครื่องจะ ไม่ทำงาน

         4. การใช้ก้านนิรภัย ก้านนิรภัยมีหลายลักษณะ ทำงานด้วยการกวาดหรือปัดผ่านหน้าบริเวณอันตราย ก่อนที่อันตรายจะเกิด
  
                       ข้อดีในการใช้งาน

                       1. ใช้ได้กับเครื่องอัดขนาดเล็กๆ เท่านั้น ขนาดกว้างไม่เกิน  6 นิ้ว
       2. การเคลื่อนที่ของก้านนิรภัยเป็นไปตามการเคลื่อนที่ของหัวอัดแม้ว่าคลัทช์จะทำงานผิดพลาดทำให้หัวอัด เคลื่อนตัวลงมาแขนนิรภัยก็จะทำงานอีกคู่กัน จึงปลอดภัยกว่า
                       3. ตัวการ์ดแบบนี้ง่ายแก่การปรับ

                       ข้อจำกัดในการใช้การ์ด

       1. ความยาวของก้านนิรภัยจะต้องมากพอต่อการแกว่งและปัดในระยะที่ยาวเท่ากับความยาวของช่วงอันตราย ถ้างานยาวมากก้านยาวจะไม่สะดวก
                       2. ในกรณีที่แท่นปั๊มมีขนาดใหญ่  หากมือคนงานเกิดติดอยู่ในแท่นแขนของคนงานอาจหักได้จาก การปัดของก้าน
         3. การใช้ก้านนิรภัยมิได้ห่อหุ้มหรือปิดกั้นอันตรายไว้แต่อย่างใด

         5. การใช้เครื่องดึงมือออกก่อนการทำงาน

                       ข้อดีในการใช้งาน

  1. เครื่องจะดึงมือคนงานออกทุกครั้งในจังหวะที่หัวอัดเคลื่อนที่ลงมา โดยความตั้งใจหรืออุบัติเหตุก็ตามจึงปลอดภัย
                2. อุปกรณ์ดึงมือนี้ต่อกับเครื่องจึงไม่ต้องเพิ่มแรงงานหรือความยุ่งยากใดๆ  เพิ่มจากการทำงานปกติของคนงาน
                3. ให้ความปลอดภัยสูง หากได้รับการออกแบบและปรับระยะให้เหมาะสม
                4. ไม่ขัดขวางหรือบังสายตาคนงานแต่อย่างใด

                ข้อจำกัดในการใช้การ์ดนี้

                1. ใช้ได้เฉพาะกับระบบงานสมบูรณ์แบบคนงานไม่ต้องเดินไปไหนเท่านั้น


                       2. เกิดเหตุฉุกเฉินคนงานอาจตกใจและวิ่งหนีออกไปไม่ทัน
                       3. คนงานอาจละเลยต่อการสวมลวดดึงเข้ากับข้อมือก็ได้
                       4. การปรับระยะดึงที่เหมาะสมต้องกระทำอยู่เสมอ
                       5. เมื่อเปลี่ยนชิ้นงานที่มีขนาดผิดไปต้องปรับระยะดึงให้เหมาะสมใหม่
                       6. หากแท่นหัวเคลื่อนที่สั้นๆ ต้องมีระบบรอกทดสอบ เพื่อขยายระยะชักให้เพียงพอ
                       7. ต้องใช้เนื้อที่หนาแทนเครื่องบางส่วนในการติดตั้งอุปกรณ์ ทำให้เปลืองเนื้อที่ไปบ้าง

         6. การใช้แผ่นกั้นเคลื่อนที่ได้

                       ข้อดีในการใช้งาน

                       1. เมื่อแผ่นกั้นยกเลื่อนขึ้น แท่นหัวอัดจะไม่เคลื่อนตัวลงมาเด็ดขาด  ทำให้ปลอดภัย
                       2. ตราบใดที่แผ่นกั้นปิดไม่สนิท เครื่องจะไม่ทำงาน
                       3. ปรับปรุงเพื่อเปลี่ยนแบบเป็นวิธีอื่นๆ ได้

                       ข้อจำกัดในการใช้การ์ดนี้

                       1. หากกลไกควบคุมคลัทช์บกพร่อง  แผ่นกั้นอาจไม่สามารถล็อกชุดหัวอัดมิให้เคลื่อนตัวลงมาได้
                       2. หากออกแบบไว้ไม่เหมาะสม อาจกดลงด้วยแรงมากเกินไป อาจเป็นอันตรายต่อคนคุมเครื่องโดยตรง

                       7. การใช้แผ่นกั้นแบบอยู่กับที่แผ่นกั้นแบบนี้เป็นได้ทั้งโลหะ แผ่นพลาสติก ตะแกรงลวดหรือตะแกรงเหล็กที่มีขนาดเล็ก พอที่จะไม่ให้มือลอดผ่านได้เหมาะสมกับเครื่องที่มีกำลังการทำงานจำกัด ชิ้นงานมีความเปลี่ยนแปลงขนาดไม่มาก ตัวอย่างที่เหมาะสมคือ เครื่องตัดโลหะแผ่นซึ่งจะตัดโลหะที่ความหนาจำกัด จะเปลี่ยนเฉพาะขนาดความกว้างเท่านั้นดังนั้นสามรถติดตั้งแผ่นกั้นอย่างถาวรได้ โดยทิ้งช่องห่างของทางเข้าออกมีค่าที่ปลอดภัย
              

                     8. การใช้แผ่นกั้นชนิดพับได้

                         9. การใช้คนเจ็บเป็นตัวป้องกันอันตรายหลักการคือ คนงานที่ได้รับอันตรายจะหมดสติ จะต้องกระโดดหรือเคลื่อนที่ตำแหน่งเท้าไปจากเดิม ดังนั้นตำแหน่งวางเท้าใช้ควบคุมเครื่องได้ คนงานจะเหยียบคันบังคับที่เท้าข้างใดก็ได้เครื่องจึงจะทำงานเมื่อประสบอันตรายปล่อยขาเหยียบจะหยุดทำงานทันที
                  
                         10. ใช้เครื่องมือจับชิ้นงานป้อนแทนมือซึ่งอาจจะเห็นว่าถนัดสู้ใช้มือไม่ได้แต่ในระยะแรกอาจไม่ชำนาญแต่เมื่อเวลาผ่านไปจนทำงานชำนาญแล้ว ความรวดเร็วจะใกล้เคียงกันมากเครื่องมือจับชิ้นงานอาจประกอบด้วย ตะขอเกี่ยว คีมคีบ คีมหนีบ แผ่นแซะหัวจับด้วยแม่เหล็ก หัวจับด้วยสุญญากาศ
              

                     ปัจจัยในการพิจารณาในการเลือกใช้เครื่องมือจับชิ้นงาน

                       1. ออกแบบเครื่องมือให้ใช้สะดวกและถนัดมือที่สุด เช่น น้ำหนักเบา ได้ศูนย์  มีด้ามจับสะดวก หยิบง่าย
                       2. คีมหนีบแบบต่างๆ ควรติดสปริงคายไว้  เพื่อให้คีมคายปากคีบออกได้เองเมื่อปล่อยมือออก
         3. เพื่อลดความสึกหรอของแม่พิมพ์หรือขอบชิ้นงานตรงปลายหนีบของคีมจับควรสวมต่อด้วยวัสดุอ่อน ที่เหมาะสม
                       4. วัสดุที่ใช้ทำคีมควรคงทนต่อสภาพการใช้งาน  โดยเฉพาะตรงปากจับไม่ควรเป็นสนิม

ข้อมูลจาก shawpat





ยินดีต้อนรับสู่ คลังความรู้ด้านความปลอดภัย Safety Shoe Safety Knowledge Center (http://www.siamsafetyplus.com/forum/) Powered by Discuz! 7.0.0