Board logo

ชื่อกระทู้: การจัดการเหตุฉุกเฉิน [พิมพ์หน้านี้]

โดย: siamsafetyplus    เวลา: 2009-10-3 11:45     ชื่อกระทู้: การจัดการเหตุฉุกเฉิน

เหตุฉุกเฉินมีหลายลักษณะและเกิดได้จากหลายสาเหตุเหตุฉุกเฉินที่มีสารเคมีเข้าไปเกี่ยวข้องมีได้ทุกสถานที่แม้ในบ้านเรือนในสำนักงาน ในห้องปฏิบัติการ ในโรงงาน บนท้องถนนในกรณีที่เกิดอุบัติภัยเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายความรุนแรงหรือผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน ต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวจะมากหรือน้อยขึ้นกับการจัดการเหตุในแต่ละครั้งและมีบ่อยครั้งที่ประชาชนทั่วไปได้รับผลกระทบอย่างไม่น่าจะเป็นอันเนื่องจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในกรณีที่พบเห็นหรืออยู่ใกล้เคียงบริเวณเหตุฉุกเฉิน ควรปฏิบัติดังนี้

1. โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานฉุกเฉิน ต่อไปนี้

      - ศูนย์นเรนทร กระทรวงสาธารณสุข โทร. 1669 มีเครือข่ายทั่วประเทศ
      - สำนักงานป้องกันจังหวัด หรือ เทศบาลเจ้าของพื้นที่เกิดเหตุ
      - ศูนย์อุบัติภัย กทม. โทร. 0-2691-1086-7
      - โทร. 191 หรือ 199
      - กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงอุตสาหกรรม โทร. 0-2619-2269
      - กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โทร. 0-2951-0000-11 ต่อ 99717 ดร. สุมล ปวิตรานนท์

2. ถ้าหากมีฉลากอยู่ข้างขวดหรือข้างรถ พยายามดูชื่อสารเคมี หรือเลขอักษร UN codeหรือดูป้ายสัญลักษณ์ที่ติดบนฉลาก เพื่อแจ้งผู้เกี่ยวข้องต่อไปหรือหาข้อมูลสารเคมีนั้นๆ ทาง internet ใน web site ต่อไปนี้

      -
[url=http://www%2Einfo@chemservice.com/]http://www.info@chemservice.com[/url]
      - http://www.merck.com
      - http://www.merck.co.th/thai/index.shtml
      - http://www.fda.moph.go.th
      - http://www.diw.go.th
      - http://www.doa.go.th/home/01.html
      - http://chemtrack.trf.or.th

      2.1ภาพสัญลักษณ์ต่างๆของสารเคมีอันตราย และความหมายเป็นภาษาไทย(จากคู่มือประชาชน การระวังภัยจากสารเคมีอันตราย กรมควบคุมมลพิษกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม)



ก๊าซพิษ
ตายได้เมื่อสูดดม เช่น ก๊าซคลอรีน ก๊าซแอมโมเนีย ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์



ของเหลวไวไฟ
ติดไฟง่ายเมื่อถูกประกายไฟ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง กลุ่มสารระเหยง่าย เช่น ทินเนอร์ อะซิโตน ไซลีน



ของแข็งไวไฟ
ลุกติดไฟง่ายภายใน 45 วินาที เมื่อถูกเสียดสีหรือได้รับความร้อนสูง เช่น ผงกำมะถัน ฟอสฟอรัสแดง ไม้ขีดไฟ



วัตถุที่ถูกน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ
เช่น แคลเซียมคาร์ไบด์ โลหะโซเดียม



วัตถุที่เกิดการลุกไหม้ได้เอง
เช่น ฟอสฟอรัสขาว ฟอสฟอรัสเหลือง โซเดียมซัลไฟต์



วัตถุออกซิไดส์
ตัวมันเองไม่ติดไฟ แต่เมื่ออยู่ร่วมกับสารอื่น ทำให้สารอื่นเกิดการลุกไหม้ได้ดีขึ้น เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
โปแตสเซียมคลอเรต แอมโมเนียมไนเตรท

ออร์แกนิคเปอร์ออกไซด์
อาจเกิดระเบิดได้เมื่อถูกความร้อน ไวต่อการกระทบและเสียดสี ทำปฏิกิริยารุนแรงกับสารอื่นๆ เช่น อะซีโตนเปอร์ออกไซด์

วัตถุติดเชื้อ
วัตถุที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน สามารถทำให้เกิดโรคได้ เช่น ของเสียอันตรายจากโรงพยาบาล เข็มฉีดยาที่ใช้แล้ว เชื้อโรคต่างๆ

วัตถุมีพิษ
อาจทำให้เสียชีวิต หรือบาดเจ็บอย่างรุนแรงเมื่อกิน สูดดม หรือสัมผัสทางผิวหนัง เช่น สารหนู ปรอท ยาฆ่าแมลง
ยาปราบศัตรูพืช สารกลุ่มโลหะหนักเป็นพิษ

วัตถุกัมมันตรังสี
วัตถุที่สามารถให้รังสีที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น โคบอลต์ เรเดียม

วัตถุกัดกร่อน
กัดกร่อนผิวหนังเมื่อสัมผัส เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจเมื่อสูดดม เช่น กรดเกลือ กรดกำมะถัน
ด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์ แคลเซียมไฮเปอร์คลอไรด์

วัตถุอื่นๆที่เป็นอันตราย
เป็นของเสียอันตรายและของเสียปนเปื้อน เช่น แอสเบสทอสขาว ไดออกซิน เบนซัลดีไฮด์


      2.2 รูปแบบของข้อมูลที่ควรแจ้ง โทรศัพท์
            สถานที่เกิดเหตุ ...................
            วันที่ เกิดเหตุ......................
            ลักษณะที่เกิด ...................
            ความสูญเสียที่พบเห็น ....................
            ชนิดหรือประเภทสารเคมีที่เป็นสาเหตุ หรือเครื่องหมายที่มองเห็น ......................
            ชื่อ/ที่อยู่ผู้แจ้ง........................

3. ออกจากที่เกิดเหตุอย่างรวดเร็วเมื่อประเมินสภาพว่าเสี่ยงเกินไป พยายามอยู่ให้ห่าง และเหนือลมแล้วแจ้งผู้อื่นรอบ ๆ บริเวณทราบด้วยถ้าทำได้

4. ช่วยเหลือผู้ป่วย โดยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปอยู่ห่างจากสถานที่เกิดเหตุ ในที่ที่อากาศบริสุทธิ์และอยู่เหนือลม

5. ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนสารเคมีออกแยกใส่ถุงต่างหาก และล้างตัวด้วยน้ำสะอาดอย่างน้อย 15-30 นาที

6. พบแพทย์


ขอบคุณข้อมูลจาก:  ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  กระทรวงสาธารณสุข






ยินดีต้อนรับสู่ คลังความรู้ด้านความปลอดภัย Safety Shoe Safety Knowledge Center (http://www.siamsafetyplus.com/forum/) Powered by Discuz! 7.0.0