กลับไปรายการกระดานข่าว ตอบกลับ โพสใหม่

การระวังภัยจากสารเคมีอันตราย

ทำอย่างไรจึงจะพ้นภัยจากสารเคมีอันตราย ?นี่คงเป็นคำถามที่อยู่ในใจประชาชนคนไทยทุกคนเนื่องจากในปัจจุบันได้เกิดอุบัติเหตุทางด้านสารเคมีรุนแรงขึ้นหลายครั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งมิได้ จำกัดอยู่เฉพาะในโรงงานเท่านั้นแต่ยังได้สร้างความเดือดร้อนต่อประชาชนทั่วไปด้วย อาทิการรั่วไหลของสารเคมีขณะขนส่ง การระเบิดและการเกิดเหตุเพลิงไหม้ของสารเคมีในโกดัง เป็นต้น

   การได้รับอันตรายของประชาชนมีสาเหตุสำคัญเนื่องจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์โดยการเข้าไปสัมผัสหรือ อยู่ใกล้บริเวณที่เกิดอุบัติเหตุทางด้านสารเคมีโดยไม่ทราบว่ามีสารเคมีแพร่กระจายอยู่หรือเมื่ออยู่ในพื้นที่เกิดเหตุไม่รู้ว่าควรปฏิบัติตนเองอย่างไรจึงจะเป็นการแก้ไขหรือป้องกันอันตรายให้แก่ตนเองได้อย่างเหมาะสม

   ข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ที่จะช่วยชี้แนะวิธีการจำแนกประเภทสารเคมีที่เป็นอันตราย พิษภัยที่เกิดขึ้นการปฏิบัติที่เหมาะสมเมื่อประสบอุบัติเหตุทางด้านสารเคมีรวมทั้งวิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัยในเบื้องต้น

สารเคมีอันตราย...คืออะไร
สารเคมีอันตราย วัตถุอันตราย สารอันตราย หมายถึงธาตุ หรือสาร ประกอบ ที่มีคุณสมบัติเป็นพิษหรือเป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์พืช และทำให้ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม สามารถจำแนกได้ 9 ประเภทดังนี้

ประเภทที่ 1 วัตถุระเบิด
   
ประเภทที่ 2 ก๊าซ
   
ประเภทที่ 3 ของเหลวไวไฟ
   
ประเภทที่ 4 ของแข็งไวไฟ
   
ประเภทที่ 5 วัตถุออกซิไดส์และออร์แกนิกเปอร์ออกไซค์
   
ประเภทที่ 6 วัตถุมีพิษและวัตถุติดเชื้อ
   
ประเภทที่ 7 วัตถุกัมมันตรังสี
   
ประเภทที่ 8 วัตถุกัดกร่อน
   
ประเภทที่ 9 วัตถุอื่นๆ ที่เป็นอันตราย

ทราบว่าเป็นสารอันตรายได้อย่างไร ?

   เราสามารถทราบว่าสารเคมีที่พบเป็นสารอันตรายหรือไม่และก่อให้เกิดอันตรายได้อย่างไร? โดยการสังเกตฉลากหรือเครื่องหมายซึ่งเป็นเครื่องหมายสากล ที่ติดบนภาชนะบรรจุ ถังเหล็ก แท็งก์หรือป้ายที่ติดบนรถยนต์หรือรถบรรทุก ดังนี้



วัตถุระเบิด: ระเบิดได้เมื่อถูกกระแทกเสียดสี หรือความร้อน เช่น ทีเอ็นที ดินปืน พลุไฟ ดอกไม้ไฟ

ก๊าซไวไฟ: ติดไฟง่ายเมื่อถูกประกายไฟ เช่น ก๊าซหุงต้ม ก๊าซไฮโดรเจน ก๊าซมีเทน ก๊าซอะเซทีลีน

ก๊าซไม่ไวไฟ,ไม่เป็นพิษ : อาจเกิดระเบิดได้ เมื่อถูกกระแทกอย่างแรก หรือได้รับความร้อนสูงจากภายนอก เช่น ก๊าซออกซิเจน ก๊าซไนโตรเจนเหลว ก๊าซคาร์บอกไดออกไซด์

ก๊าซพิษ : อาจตายไปเมื่อสูดดม เช่น ก๊าซคลอรีน ก๊าซแอมโมเนีย ก๊าซไฮโดรเจนคลอไรด์

ของเหลวไวไฟ : ติดไฟง่ายเมื่อถูกประกายไฟ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ทินเนอร์ อะซิโตน ไซลิน
วัตถุที่ถูกน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ : เช่น แคลเซียมคาร์ไบด์ โซเดียม


ของแข็งไวไฟ : ลุกติดไฟง่าย เมื่อถูกเสียดสี หรือความร้อนสูงภายใน 45 นาที เช่น ผงกำมะถัน ฟอสฟอรัสแดง ไม้ขีดไฟ

วัตถุที่ถูกน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ : เช่น แคลเซียมคาร์ไบด์ โซเดียม

วัตถุที่เกิดการลุกไหม้ได้เอง : ลุกติดไฟได้เมื่อสัมผัสกับอากาศภายใน 5 นาที เช่น ฟอสฟอรัสขาว ฟอสฟอรัสเหลือง โซเดียมซัลไฟต์

วัตถุออกซิไดส์ : ไม่ติดไฟแต่ช่วยให้สารอื่นเกิดการลุกไหม้ได้ดีขึ้น เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ โปแตสเซียมคลอเรต แอมโมเนียม ไนเตรท

ออร์แกนิคเปอร์ออกไซด์ : อาจเกิดระเบิดได้เมื่อถูกความร้อนไวต่อการกระทบและเสียดสีทำปฏิกริยารุนแรงกับสารอื่น ๆ เช่น อะซิโตนเปอร์ออกไซด์

วัตถุติดเชื้อ : วัตถุที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนและทำให้เกิดโรคได้ เช่น ของเสียอันตรายจากโรงพยาบาล เข็มฉีดยาที่ใช้แล้ว เชื้อโรคต่าง ๆ

วัตถุมีพิษ:อาจทำให้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บอย่างรุนแรงจากการกิน การสูดดมหรือจาการสัมผัสทางผิวหนัง เช่น อาร์ซีนิค ไซนาไนด์ ปรอท สารฆ่าแมลงสารปรอทศัตรูพืช โหละหนักเป็นพิษ

วัตถุกัมมันตรังสี : วัตถุที่สามารถให้รังสีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น โคบอลต์ เรเดียม

วัตถุกัดกร่อน : สามารถกัดกร่อนผิวหนังและเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น กรดเกลือ กรดกำมะถัน โซเดียม โฮดรอกไซด์ แคลเซียมไฮโปคลอไรต์

วัตถุอื่น ๆที่เป็นอันตราย : เช่น ของเสีย อันตราย แอสเบสทอสขาว เบนซัลดีไฮด์ของเสียปนเปื้อน ไดออกซิน

สามารถเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร ?


1. การหายใจ :การหายใจเป็นการเข้าสู่ร่างกายที่สำคัญของสารเคมีที่อยู่ในรูปของไอระเหยก๊าซ ละออง หรือ อนุภาค เมื่อสารเคมีเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจอาจทำลายระบบทางเดินหายใจ หรือเข้าสู่ปอด กระแสเลือดแล้วทำลายอวัยวะภายใน

2. ดูดซึมผ่านผิวหนัง (หรือตา) :โดยการสัมผัสหรือจับกันสารพิษ อาจมีผลกระทบที่ค่อนข้างน้อย เช่นเป็นผื่นแดง หรือรุนแรงมากขึ้น เช่น ทำลายโครงสร้างของผิวหรือทำให้อ่อนเพลียหรืออาจซึมเข้าสู่กระแสเลือด ทำลายอวัยวะหรือระบบต่าง ๆภายในร่างกายขั้นรุนแรง และอาจตายได้


3. การกินเข้าไป :
หาสารที่กินเข้าไปมีฤทธิ์กัดกร่อนจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเิดินอาหารสารที่ไม่ละลายในของเหลวในทางเดินอาหารจะถูกขับออกทางอุจจาระส่วนสารที่ละลายได้จากถูกดูดซึมผ่านผนังของทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะภายใน ความเป็นพิษขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของสารเคมีที่กินเข้าไป


4. การฉีดเข้าไป :สารอาจเข้าสู่ีร่างการได้ถ้าผิวหนังถูกแทงหรือทำให้ฉีกขาดด้วยวัตถุที่ปนเปื้อนผลกระทบเกิดขึ้นเมื่อสารนั้นเข้าสู่กระแสเลือดและสะสมในอวัยวะเป้าหมาย

มีผลต่อร่างกายอย่างไร ?

โดยธรรมชาติของร่างกายมนุษย์เมื่อได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายจะมีขบวนการทำลายพิษให้น้อยลงและพยายามขับสารนั้นออก ทางเหงื่อ น้ำนม ปัสสาวะ อุจจาระ น้ำลาย ลมหายใจแต่หากได้รับสารพิษมากเกินไปจะเกิดการสะสมและเกิดผลเสียหายต่อระบบต่าง ๆของร่างกายทั้งในลักษณะเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ดังนี้
1. ผลต่อระบบทางเดินหายระบบทางเดินหายใจซึ่งเป็นทางผ่านของก๊าซไอระเหย ฝุ่นละอองของสารพิษทำให้เกิดความระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจในส่วนต้น ทำลายเนื้อเยื่อปอดทำลายความยืดหยุ่นปอด เกิดการแพ้สารหรือเกิดมะเร็งหากสัมผัสสารอย่างต่อเนื่องซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน เช่นมะเร็งปอด มะเร็งโพรงจมูก เป็นต้น  

2. ผลต่อผิวหนัง เกิดการระคายเคืองขั้นต้น เกิดการแพ้แสง ทำลายผิวหนังอย่างถาวร เกิดมะเร็งผิวหนัง  

3. ผลต่อตา เกิดอาการระคายเคือง แสบตา เยื่อยุตาอักเสบ ตาพร่ามัว น้ำตาไหลและอาจตาบอดได้ถ้ารับสารในปริมาณมาก เช่น เมธานอล  

4.ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ขาดออกซิเจนในเลือดมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบประสาท เช่น ตาพร่ามัว กระสับกระส่ายกล้ามเนื้อสั่น ชัก ขาดความจำกล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกันและการรับความรู้สึกไม่ปรกติ  

5. ผลต่ออวัยวะภายใน  

ตับ : แบบเฉียบพลัน (เซลล์ตาย) แบบเรื้่อรัง (ตับแข็ง มะเร็ง) สารที่เป็นพิษต่อตับ เช่น คาร์บอนเตตระคลอไรด์ คลอโรฟอร์ม
ไต : สารที่เ็๋ป็นพิษต่อไต เช่น โลหะหนัก คาร์บอนไดซัลไฟด์  
เลือด: กระทบต่อระบบการการสร้างเม็ดเลือด (ไขกระดูก) องค์ประกอบของเลือด(เกล็ดเลือด เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว)หรือความสามารถในการขนส่งออกซิเจนของเซลล์เม็ดเลือด สารที่เป็นพิษต่อเลือดเช่น เบนซิน กัมมันตรังสี  
ม้าม : สารที่เป็นพิษต่อม้าม เช่น คลอโรฟีน ไนโตรเบนซิน  
ระบบสืบพันธ์ ุ: เป็นหมัน อสุจิผิดปกติ มีิอสุจิน้อย ระบบฮอร์โมนทำงานผิดปกติ สารที่เป็นพิษต่อระบบสืบพันธ์ เช่น โลหะหนักไดออกซิน  

เกิดอาการอย่างไร?..เมื่อได้รับสารอันตราย



แบบเฉียบพลัน :
เป็นกาารสัมผัสที่เกิดขึ้นครั้งเดียวในระยะเวลาที่ค่อนข้างสั้น เช่นหนึ่งนาทีถึงสองสามวัน อาการที่เกิดขึ้น ไ้ด้แก่ เกิดผลผื่นคันระคายเคืองผิวหนังไหม้ อักเสบ ขาดอากาศ หน้ามืด วิงเวียน


แบบเรื้อรัง :เป็นการสัมผัสสารที่ระดับค่อนข้างต่ำในระยะเวลานานตั้งแต่เป็นเดือนถึงเป็นปี อาการที่เกิดขึ้น ได้แก่ การเกิดความพิการในทารก (Teratogenic)การเกิดความผิดปกติทางสายพันธ์ุในตัวอ่อน หรือการผ่าเหล่า (Uutagenic)การผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น การเปลี่ยนแปลงของ DNA การเกิดมะเร็ง(Carcinogenic)

ป้องกันตนเองจากสารเคมีอันตราย..ได้อย่างไร



ไม่สัมผัสภาชนะบรรจุที่ชำรุดหรือสารที่รั่วไหล



อย่าเข้าใกล้แนวกั้นเขตอันตราย สังเกตจากแถบเหลือง-ดำ หรือแถบขาว-แดง



อยู่เหนือลม หรือที่สูง หรือออกจากบริเวณที่เกิดเหตุทันที หากเห็นว่าไม่ปลอดภัย


เมื่อพบเห็นอุบัติภัยสารเคมี..ต้องทำอย่างไร?



1.พยายามจำแนกว่าสารเคมีดังกล่าวเป็นสารเคมีชนิดไหน โดยดูจากฉลากหรือแผ่นป้ายที่ติดอยู่บนภาชนะบรรจุหรือข้างรถ


2.อย่าพยายามกระทำในสิ่งที่ไม่รู้จริงเพราะอาจก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างรุนแรงโดยมิได้คาดคิด เช่นการล้างภาชนะบรรจุหรือบริเวณที่มีกรดหกรดอาจทำให้เกิดปฏิกิริยารุนแรงได้
3. โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ

    เกิดเหตุในกรุงเทพมหานคร โทร. 199 หรือศูนย์กรุงเทพมหานคร โทร. 1555 หรือกรมควบคุมมลพิษ โทร. 1650
    เกิดเหตุในต่างจังหวัด โทร. 1999 หรือกรมควบคุมมลพิษ โทร. 1650
    เกิดเหตุบนทางหลวง โทร. 1193
    เกิดเ้หตุบนทางด่วน โทร. 1543
    เกิดเหตุบนท้องถนน แจ้งศูนย์ปลอดภัยคมนาคม โทร. 0 2280 8000
   เกิดเหตุเกี่ยวกับวัตถุกัมมันตรังสีแจ้งสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติในเวลาราชการ โทร. 0 2579 5230-4 ต่อ 552,553, 139 นอกเวลาราชการ โทร. 0 2579 5230 -4 หรือ 0 2562 0123
    แจ้งศูนย์รับแจ้งเหตุและประสานงานด้านการบรรเทาสาธารณภัย โทร. 0 2241 7450-9
    ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โทร. 1784
    ศูนย์นเรนทร โทร. 1669






4. ข้อมูลที่ท่านควรแจ้ง เมื่อพบเห็นเหตุการณ์
    สถานที่เกิดเหตุ  
    ลักษณะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  
    ชนิด/ประเภทของสารเคมี(ถ้าทราบ)  
    จำนวน/ปริมาณของสารเคมีที่หกหรือรั่วไหล (ถ้าทราบ)  
    มีแหล่งน้ำหรือชุมชนอยู่ใกล้เคียงบริเวณที่เกิดเหตุหรือไม่  


จะช่วยเหลือผู้ป่วย..ได้อย่างไร



เคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปอยู่ในที่อากาศบริสุทธิ์


ถอดเสื้อที่เปื้อนสารเคมีออก และแยกใส่ถุงหรือภาชนะต่างหาก


หากสัมผัสสารให้ล้างด้วยน้ำมากๆ อย่างน้อย 15 นาที


ไปพบแพทย์
ข้อมูลจาก สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน
บริษัท สยามเซฟตี้พลัส จำกัด อุปกรณ์เซฟตี้ |อุปกรณ์ความปลอดภัย|Safety Shoes  
กลับไปรายการกระดานข่าว

เพื่อนบ้าน :อุปกรณ์ความปลอดภัย,safety shoes,safety footwear,กลูต้า