ข้อควรปฏิบัติ |
* เลือกอุปกรณ์ป้องกันมือให้เหมาะกับประเภทงาน |
* ปฏิบัติตามข้อแนะนำ วิธีใช้ การบำรุงรักษาถุงมือ (ของบริษัทผู้ผลิต) ข้อแนะนำในการเลือกอุปกรณ์ป้องกันมือ | ประเภทของงาน | ขั้นของอันตราย | ประเภทวัสดุอุปกรณ์ป้องกัน | - งานขัด | - อันตรายมาก
- อันตรายน้อย
| - ถุงมือยางชนิดหนาพิเศษ,ถุงมือหนังเสริม พิเศษ
- ถุงมือยาง,พลาสติก,หนัง,ยางสังเคราะห์ ไนล่อน ผ้าฝ้าย
| - งานของมีคม | - อันตรายมาก - อันตรายปานกลาง
- อันตรายน้อย | - ถุงมือเสริมโลหะ ถุงมือชนิดพิเศษ - ถุงมือหนัง ถุงมือผ้าชนิดหนาไม่มีตะเข็บ
- ถุงมือหนังชนิดบาง หนังสังเตราะห์ ไนล่อน ผ้าฝ้าย
| - งานสารเคมี,ของเหลว | - ขึ้นอยู่กับชนิดของสารเคมีตาม มาตรฐาน ACGIH | -วัสดุที่ใช้ขึ้นอยู่กับประเภทสารเคมี เช่น ยางธรรมชาติ, ยางสังเคราะห์, พีวีซี เป็นต้น | - งานความเย็น | | - ถุงมือหนัง ฉนวนกันความเย็นทำจาก พลาสติก, ขนสัตว์, ผ้าฝ้าย | - งานไฟฟ้า | | - ถุงมือยางซึ่งผ่านการทดสอย สภาพความเป็นฉนวน มาตรฐาน Z 259- M 1979 และสวมถุงมือหนังทับ | - งานกันการติดเชื้อ | | - ถุงมือพลาสติกชนิดบาง, ถุงมือหนังชนิดบาง, ผ้าโพลีเอสเตอร์, ไนล่อน | - งานรังสี | | - ถุงมือยางบุตะกั่ว, ถุงมือพลาสติกหรือหนัง | - งานความร้อน | | - ถุงมือพิเศษ ชนิดมีฉนวนกันความร้อนหุ้ม | - งานทั่วไป | | - ถุงมือผ้า, ถุงมือหนัง |
|
* ถุงมือที่ใช้งานต้องพอดีไม่คับหรือหลวมเกินไป |
* ถุงมือต้องยาวพอที่จะปกปิดผิวหนังส่วนที่พ้นเสื้อผ้าออกมาทั้งหมด ไม่มีที่ว่างระหว่างถุงมือและแขนเสื้อ |
* ห้ามใส่ถุงมอืที่มีส่วนประกอบของโลหะใกล้อุปกรณ์ หรือส่วนที่มีกระแสไฟฟ้า |
* ห้ามใช้ถุงมือทีชำรุดหรือขาด |
* ห้ามใช้ถุงมือทำงานกับส่วนที่เคลื่อนที่ หรือหมุนได้ของเครื่องจักร เพราะถุงมืออาจถูกเกี่ยวเข้าไปในเครื่องได้ |
* ถุงมือที่ใช้กับงานสารเคมีต้องล้างให้สะอาดก่อนถอดออก |
* ตรวจและทดสอบหาส่วนที่ชำรุดเสียหายของถุงมือก่อนใช้ |
* ทดสอบหาจุดรั่วของถุงมือยางโดยการเป่าลมเข้าไป |
การตรวจสอบถุงมือ |
| - ถือโคนถุงมือโดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ข้างในถุงมือแล้วดึงโคนถุงมือให้ตึง |
| - บีบโคนถุงมือให้แน่นเพื่อให้ถุงมือพองออกเป็นการหาจุดชำรุดหรือรั่ว |
| - เหวี่ยงหมุนถุงมือเพื่อเก็บอากาศไว้ในถุงมือ |
| - อัดลมแล้วม้วนโคนถุงมือพร้อมกับบีบให้แน่นเพื่อหาจุดหรือรอยรั่ว |
| - หากถุงมือที่ต้องทดสอบมีจำนวนมากให้ใช้เครื่องอัดลมช่วยในการทดสอบ |