กลับไปรายการกระดานข่าว ตอบกลับ โพสใหม่

กฎทองสำหรับการป้องกันอุบัติภัยจากการทำงานเกี่ยวข้องกับสารเคมี

บทบาทของผู้มีส่วนได้รับผลดีผลเสีย

         1. จำเป็นต้องให้ความสำคัญในการปกป้อง คุ้มครองสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและทรัพย์สินด้วยการดำเนินการลดความเสี่ยงจากสารเคมีและการป้องกันอุบัติเหตุเช่นเดียวกับการเตรียมความพร้อมกรณีฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ
         2. มีช่องทางการสื่อสารและประสานกับหน่วยงานที่ได้รับผลดีผลเสียในทุกหัวข้อการป้องกันอุบัติเหตุ การเตรียมความพร้อมกรณีฉุกเฉิน

บทบาทของสถานประกอบกิจการ

• ระดับผู้บริหาร

          1.1 รู้จักอันตรายและความเสี่ยงของสถานที่ตั้งที่มีสารเคมีอันตราย
          1.2 ส่งเสริม วัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงานที่ทราบและยอมรับทั่วกัน
          1.3 สร้างระบบการบริหารความปลอดภัยและติดตาม รวมถึงการทบทวนการดำเนินงาน
                 หลักการออกแบบและดำเนินการในสถานที่ตั้งที่มีสารเคมีอันตรายต้องใช้เทคโนโลยี   ความปลอดภัยสูงสุด
          1.4 หมั่นบริหารการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
          1.5 เตรียมความพร้อมอยู่เสมอหากเกิดอุบัติเหตุ
          1.6 ช่วยเหลือให้ผู้ที่มีบทบาทต่างๆทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
          1.7 แสวงหาการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

• ลูกจ้าง

          2.1 ต้องปฏิบัติตามวัฒนธรรมขององค์กร ตลอดจนกระบวนการทำงานอย่างปลอดภัยและมีการฝึกอบรม
          2.2 มีความตั้งใจและพยายามรับรู้รวมถึงการให้ข้อมูลตอบสนองผู้บริหาร
          2.3 มีความกระตือรือร้นที่จะช่วยให้ความเข้าใจและความรู้ต่อชุมชน
บทบาทของหน่วยงานภาครัฐ

          3.1 แสวงหาการพัฒนา การบังคับใช้และการปรับปรุงนโยบาย กฎหมายและระเบียบปฏิบัติ
          3.2 ต้องมีภาวะผู้นำในการจูงใจผู้มีส่วนได้รับผลดีผลเสียเพื่อเติมเต็มบทบาทและหน้าที่ของเขาเหล่านั้น
          3.3 ติดตามและช่วยเหลือสถานประกอบกิจการเฝ้าระวังและตระหนักถึงความเสี่ยง
                ให้แน่ใจว่ามีความร่วมมือและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างผู้มีส่วนได้รับผลดีผลเสีย
          3.4 ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน
          3.5 ต้องทราบความเสี่ยงในกลุ่มที่รับผิดชอบและวางแผนอย่างเหมาะสม
          3.6 ลดทอนผลกระทบของอุบัติภัยด้วยมาตรการโต้ตอบอย่างเหมาะสม
          3.7 สร้างนโยบายและแผนตลอดจนการจัดการตามพื้นที่อย่างเหมาะสม

บทบาทของชุมชน

          4.1 มีความตระหนักต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดในชุมชนและทราบวิธีการโต้ตอบหากเกิดอุบัติภัย
          4.2 มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจหากเกี่ยวข้องกับสถานที่ตั้งที่มีสารเคมีอันตราย
          4.3 ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานท้องถิ่นและสถานประกอบกิจการในการทำแผนและตอบโต้เหตุฉุกเฉิน


อ้างอิงจาก  OECD, 2nd edition :Guiding Principles for Chemical Accident Prevention, Preparedness and Response 2003 (http://www2.oecd.org/guidingprinciples/document)

ข้อมูลจาก สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน
บริษัท สยามเซฟตี้พลัส จำกัด อุปกรณ์เซฟตี้ |อุปกรณ์ความปลอดภัย|Safety Shoes  
กลับไปรายการกระดานข่าว

เพื่อนบ้าน :อุปกรณ์ความปลอดภัย,safety shoes,safety footwear,กลูต้า