กลับไปรายการกระดานข่าว ตอบกลับ โพสใหม่
ชนิดอุปกรณ์ป้องกันดวงตา

อุปกรณ์ป้องกันดวงตา สามารถแบ่งได้ตามประเภทการใช้งาน ดังนี้

1.แว่นครอบตา
แว่นครอบตา อาจแบ่งย่อยออกไปอีก ตามลักษณะของการใช้งาน ได้ดังนี้:

1.1 แว่นครอบตาสำหรับใช้กับงานเจียร์ (IMPACT GOGGLE):





โดยปกติทั้งตัวกรอบแว่นและเลนส์ ทำด้วยพลาสติกใส ลักษณะของแว่นครอบตาชนิดนี้จะมีรูพรุนเล็กๆ เป็นจำนวนมากอยู่โดยรอบกรอบแว่น (เพื่อระบายความร้อนที่ออกจากผู้ใช้ ไปสู่ภายนอกแว่นในขณะปฏิบัติงานเลนส์ของแว่นจะมีลักษณะเป็นแผ่นเดียวกันตลอด ไม่แยกจากกันมีความหนาโดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 0.04 นิ้ว สำหรับไว้ป้องกันฝุ่นหรือเศษของวัสดุที่เจียร์ เช่น หิน เหล็ก พลาสติก ไฟเบอร์กลาส ฯลฯ


1.2 แว่นครอบตาสำหรับใช้กับงานเจียร์ และป้องกันสารเคมี (CHEMICAL & IMPACT GOGGLE):





แว่นครอบตาชนิดนี้เป็นที่นิยมใช้กันมากกว่าชนิดแรกเพราะสามารถใช้งานได้มากกว่า กล่าวคือ ใช้สำหรับป้องกันสารเคมีกระเซ็นและเศษหรือฝุ่นจากงานเจียร์ปลิวเข้าตาลักษณะโดยทั่วไปของแว่นครอบตาชนิดนี้คล้ายกับชนิดแรกจะต่างกันก็เพียงการระบายความร้อนออกสู่ภายนอกแว่นเท่านั้นกล่าวคือแว่นครอบตาชนิดนี้จะใช้ลิ้นระบาย (EXHAUST VALVE) ระบายความร้อนออกสู่ภายนอกแว่นแทน ซึ่งโดยมากจะมีอยู่ด้วยกัน 4-6 ลิ้นรอบกรอบแว่น ส่วนเลนส์จะเป็นชนิดเดียวกันกับชนิดแรก

  
1.3 แว่นครอบตาสำหรับใช้ป้องกันสารเคมี ควันและงานเจียร์ (CHEMICAL SPLASH GOGGLE):





แว่นครอบตาชนิดนี้ จะมีลักษณะแตกต่างออกไปจากแว่นทั้งสองชนิดที่กล่าวมาแล้วตัวกรอบแว่นจะมีลักษณะกว้างและโค้งแนบกับใบหน้าได้ดีกว่าและไม่มีลิ้นรูระบายความร้อน เลนส์จะมีลักษณะโค้งไปตามกรอบแว่นเนื่องจากแว่นชนิดนี้ไม่มีรูระบายความร้อนแต่ใช้ระบบการระบายความร้อนออกจากตัวแว่นด้วยวิธีไหลผ่านจากเลนส์สู่กรอบแว่นสู่ภายนอกแทน (INDIRRCT VENT) ดังนั้นแว่นชนิดนี้จึงเหมาะสำหับใช้กันควัน สารเคมีและบริเวณที่มีฝุ่น หรือเศษของชิ้นงานจากงานเจียร์จำนวนมากได้ดีกว่าชนิดที่ 1 หรือ 2


1.4 แว่นครอบตาสำหรับเชื่อม (WELDING GOGGLE):

กล่าวคือ จะใช้ลิ้นระบายความร้อนออกจากแว่นเหมือนกัน จะต่างกันก็เพียงเลนส์ที่ใช้มักจะเป็นชนิดเลนส์แยกทำด้วยแก้วชุบแข็ง (HARDEN GLASS) มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ:.


1.4.1 ชนิดเลนส์ติดตายกับตัวกรอบแว่น (FIXED LENS WELDING GOGGLE): แว่นเชื่อมชนิดนี้จะมีเลนส์ติดตายอยู่ที่ตัวกรอบแว่น มีข้อดีคืออายุการใช้งานยาวนาน ข้อเสียคือ ไม่สะดวกต่อผู้ปฏิบัติงานมากนักเวลาจะเคาะรอยตะเข็บเชื่อมต้องถอดแว่นออก




1.4.2 ชนิดเลนส์ปิด-เปิดได้ (FLIP-UP WELDING GOGGLE): แว่นเชื่อมชนิดนี้จะมีเลนส์ขึ้นลง ปิด-เปิดข้อดีและข้อเสียจะตรงกันข้ามกับชนิดแรกปัจจุบันแว่นเชื่อมชนิดนี้เป็นที่นิยมใช้กันมากกว่าชนิดแรก




แว่นครอบตาสำหรับงานเชื่อมทั้ง 2 ชนิด ดังกล่าวข้างต้นเหมาะสำหรับการเชื่อมแก๊สเท่านั้น ไม่ควรนำมาใช้กับงานเชื่อมไฟฟ้า

อนึ่งความเข้มของกระจกเชื่อมที่ใช้จะแตกต่างกันออกไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหนาของชิ้นโลหะที่เชื่อม ชนิดของโลหะ ฯลฯโดยจะมีความเข็มที่ใช้แตกต่างกันออกไปดังนี้คือ


ตารางแสดงลักษณะงานกับขนาดของเลนส

ลักษณะงาน

ชนิดของเลนส์
(SHADE NUMBER)

1. ผู้ปฏิบัติงานใกล้งานเชื่อมและตัด
2
2. งานเชื่อมทองเหลือง บัดกรี
3-4
3. งานตัดหรือเชื่อมด้วยอ๊อกซิเจนหรือก๊าซชิ้นงานหนาไม่เกิน 1/8 นิ้ว
4-5
4. งานตัดหรือเชื่อมด้วยอ๊อกซิเจน หรือก๊าซ ชิ้นงานหนามากกว่า 1/2 และงานเชื่อมไฟฟ้าน้อยกว่า 30 แอมป์
5-6
5. งานเชื่อมด้วยก๊าซ ชิ้นงานมากกว่า 1/2 นิ้วและงานเชื่อมไฟฟ้า 30-75 แอมป์
5-8
6. งานเชื่อมไฟฟ้า 75-200 แอมป์
10
7. งานเชื่อมไฟฟ้า 200-400 แอมป์
12
8. งานเชื่อมไฟฟ้า มากกว่า 400 แอมป์
14



แว่นครอบดังกล่าวทั้งหมดนี้เป็นเพียงแว่นครอบตาชนิดหลักที่ใช้กันอยู่ทั่วๆไปในโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้นยังมีแว่นครอบตาที่ใช้เฉพาะงานอยู่อีกมากมายหลายประเภทซึ่งมีรูปลักษณะแตกต่างกันออกไปตามจุดประสงค์ของการใช้งาน อนึ่งแว่นครอบตาทุกชนิดควรมีมาตรฐานความปลอดภัยรับรอง อาทิเช่น ANSI 87.2-1989, B.S2092-2 DIN.4647 ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้มั่นใจว่าได้สินค้าที่ใช้มีคุณภาพและมาตรฐานจริงๆ


2.แว่นตานิรภัย (SAFETY GLASSES)


ลักษณะของแว่นตานิรภัย จะมีลักษณะ คล้ายคลึงกับแว่นสายตา หรือแว่นแฟชั่นโดยทั่วๆ ไปต่างกันเพียงเลนส์ที่ใช้และมีกระบังข้างตรงกรอบแว่นตาเพิ่มขึ่นเท่านั้น


      

จุดประสงค์ของการใช้แว่นตานิรภัย: แว่นตานิรภัยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้สวมใส่ สามารถป้องกันนัยน์ตาจากงานต่างๆ ดังนี้
     1. งานกลึง
     2. งานประกอบชิ้นส่วน (รถยนต์ ฯลฯ)
     3. งานเชื่อมโดยวิธียิงด้วยไฟฟ้า
     4. งานในห้องแล็บ
     5. งานหล่อโลหะ


วิธีการทดสอบเลนส์ของแว่นนิรภัย :

ตามมาตรฐานสถาบันมาตรฐานความปลอดภัยอเมริกา ข้อที่ ANSI Z 87.1-1963 (ANSI = AMERICAN NATIONAL STANDARD INSTITUTE) กล่าวไว้ดังนี้
“นำเลนที่จะทดสอบมาไว้ยังฐานซึ่งอยู่ในแนวราบ (HORIZONTAL LEVEL) จากนั้นกาลูกเหล็กที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว น้ำหนักของลูกเหล็ก 2.4 ออนซ์ วัดระยะห่างของลูกเหล็ก และจุดศูนย์กลางของเลนส์มี่จะทดสอบ ให้ห่างกันประมาณ 50 นิ้ว (1.30 เมตร)จากนั้นให้ปล่อยลูกเหล็กทิ้งลงมาอย่างอิสระลงบนผิวหน้าตรงจุดศูนย์กลางเลนส์ถ้าหากเลนส์ที่ทดสอบไม่มีรอยร้างใดๆ เกิดขึ้นถือว่าเลนส์ดังกล่าวเป็นเลนส์นิรภัยได้”

ตัวอย่างแว่นตานิรภัย มาตรฐาน ANSI ดูได้ที่ http://www.siamsafetyplus.com
ข้อมูลจาก thai-safetywiki
บริษัท สยามเซฟตี้พลัส จำกัด อุปกรณ์เซฟตี้ |อุปกรณ์ความปลอดภัย|Safety Shoes  
กลับไปรายการกระดานข่าว

เพื่อนบ้าน :อุปกรณ์ความปลอดภัย,safety shoes,safety footwear,กลูต้า