กลับไปรายการกระดานข่าว ตอบกลับ โพสใหม่
การเลือกใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือ SCBA (Self Contained Breathing Apparatus)





เนื่องจากเครื่องช่วยหายใจ หรือ SCBA มีราคาค่อนข้างสูงดังนั้นก่อนที่จะทำการซื้อเครื่องช่วยหายใจ จะต้องมีการตัดสินใจเพื่อให้แน่ใจว่า เครื่องช่วยหายใจที่เลือกนั้นเหมาะสมกับการใช้งานที่ต้องการ ชนิดของการใช้งาน ระยะเวลาในการใช้และความถี่ในการใช้เป็นตัวแปรที่จะต้องพิจารณาก่อนที่จะซื้อเครื่องช่วยหายใจเพื่อให้แน่ใจว่าจะได้สินค้าที่ถูกต้อง




ชนิดของการใช้งาน
เมื่อมาถึงขั้นตอนการเลือกเครื่องช่วยหายใจผู้ซื้อควรจะพิจารณาวัตถุประสงค์ในการใช้งานเป็นอันดับแรกถ้าเครื่องช่วยหายใจ จะถูกนำมาใช้ในการดับเพลิงจะต้องใช้เครื่องที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของ หน่วยงานป้องกันไฟแห่งชาติNational Fire Protection Association (NFPA) ปี 1981ถ้าไม่ได้นำมาใช้ในการดับเพลิง สามารถใช้เครื่องช่วยหายใจที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของ สถาบันสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติNational Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH)จึงจะเหมาะสม



เครื่องช่วยหายใจ ในอุตสาหกรรม
สำหรับการใช้งานนอกเหนือจากการดับเพลิง,เครื่องช่วยหายใจที่ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับ NFPAจะเป็นทางเลือกที่ประหยัดสำหรับผู้ซื้อเครื่องช่วยหายใจที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของสถาบัน NIOSHจะเหมาะสมกับการใช้งานในอุตสาหกรรมที่มีพื้นที่จำกัด , การใช้งานในพื้นที่ที่มีสารปนเปื้อนเข้มข้นสูงกว่าระดับที่มีอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพ (IDLH) สถานการณ์ที่ไม่ทราบความเข้มข้นของสารปนเปื้อนและออกซิเจนไม่เพียงพอ(ความเข้มข้นของออกซิเจนน้อยกว่า 19.5%)

เครื่องช่วยหายใจ NFPA 1981

เครื่องช่วยหายใจ ที่มีลักษณะสอดคล้องกับ NFPA 1981มีความจำเป็นต้องใช้เมื่อใช้ในการดับเพลิง เครื่องช่วยหายใจที่สอดคล้องกับ NFPA จะสอดคล้องกับ NIOSH ด้วยสำหรับการป้องกันพื้นฐานในอุตสาหกรรม  NFPA 1981ประกอบด้วยข้อกำหนดด้านการทดสอบและวัสดุที่ใช้ สำหรับเครื่องช่วยหายใจเพื่อให้มั่นใจว่าอุปกรณ์มีความทนทานในสภาวะที่พนักงานดับเพลิงต้องปฏิบัติงาน ข้อกำหนดที่เด่นชัดอย่างหนึ่งของ NFPA 1981 คือวัสดุที่ใช้ทำสายหรือท่อใน เครื่องช่วยหายใจจะต้องทนทานต่อความร้อนและเปลวไฟ


ในเดือนกันยายน ปี ค.ศ 2002 NFPA ได้มีการปรับเปลี่ยนแก้ไขมาตรฐานของปี 1981(NFPA 1981, ฉบับปี 2002)  ซึ่งใช้ทดแทน NFPA 1981 ฉบับปี 1997 การเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างในฉบับ ปี 2002มีผลกระทบต่อการทดสอบของเครื่องช่วยหายใจ  มีสองข้อหลักๆที่อยู่ในการเปลี่ยนแปลงนี้ คือ ข้อกำหนดสำหรับ Head up Display(จอแสดงผลที่สามารถอ่านค่าได้โดยไม่ต้องละสายตาไปที่อื่น) หรือ HUD และข้อต่อแบบ Rapid Intervention Crew Universal Air Connection หรือRIC/UAC  เครื่องช่วยหายใจ ที่สอดคล้องกับข้อกำหนดฉบับปี 2002จะต้องมีอุปกรณ์เหล่านี้ด้วย




            






ข้อกำหนดของ HUD ต้องการให้มีไฟ LEDเพื่อบอกข้อมูลปริมาณโดยประมาณของถังอากาศที่มีค่าโดยประมาณเป็น เต็ม,สามในสี่, ครึ่งหนึ่ง และหนึ่งในสี่ ให้สามารถมองเห็นได้ในหน้ากากผู้ที่สวมใส่ เครื่องช่วยหายใจจะต้องได้รับสัญญาณแจ้งเตือนกระพริบเมื่อถังจ่ายอากาศมีปริมาณเหลือครึ่งหนึ่งและหนึ่งในสี่ HUD จะต้องมีระบบให้สัญญาณ LED แจ้งเมื่อแบตเตอรี่อ่อนไฟสัญญาณจะต้องมีความสว่างมากพอที่จะทำให้ผู้ที่สวมใส่มองเห็นในสภาพแสงสว่างปกติแต่ไม่สว่างจนเกินไปที่ทำให้รบกวนผู้ที่สวมใส่เมื่อปฏิบัติงานในสภาพที่มีแสงน้อย


จุดประสงค์ของ RIC/UAC คือเพื่อให้เครื่องช่วยหายใจทุกชุดมีข้อต่อที่เหมือนกันสำหรับใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินในการเติมอากาศเข้าไปใหม่ของพนักงานดับเพลิงที่ติดอยู่ภายใน




NFPA1981 ถูกปรับเปลี่ยนอีกครั้งในปี  2007.การปรับเปลี่ยนนี้มีข้อกำหนดเพิ่มเติม คือให้ เครื่องช่วยหายใจทุกชุดจะต้องได้รับการรับรองโดย NIOSH ในฐานะที่เป็น CBRN (เคมี,สารอินทรีย์, การแผ่รังสี และนิวเคลียร์)  การปรับปรุงอื่นๆคือการเพิ่มข้อกำหนดเพิ่มเติมสำหรับการสื่อสารด้วยเสียงและเพิ่มความสามารถในการป้องกันน้ำและความร้อน






เครื่องช่วยหายใจ CBRN
จากเหตุการณ์สลดใจ 9-11 ได้กระตุ้นให้ NIOSHออกเกณฑ์ในการทดสอบและประสิทธิภาพของ เครื่องช่วยหายใจ ที่ใช้กับสาร CBRN(เคมี, สารอินทรีย์, การแผ่รังสี และนิวเคลียร์) ในเดือนมกราคม 2002 NIOSHเริ่มที่จะทำการการอนุมัติเครื่องช่วยหายใจจากผู้ผลิตที่ได้ปรับปรุงเครื่องช่วยหายใจห้สอดคล้องกับข้อกำหนดใหม่ของ NIOSH


เครื่องช่วยหายใจ ที่ใช้กับสาร CBRN ที่ได้รับการอนุมัติจะต้องมีลักษณะดังนี้
  • เครื่องช่วยหายใจ ได้รับการอนุมัติจาก NIOSH  ภายใต้  Code 42 ของ Federal Regulations (CFR) ส่วนที่ 84, ส่วนย่อย H;
  • เครื่องช่วยหายใจ สอดคล้องกับ NFPA 1981 สำหรับ อุปกรณ์วงจรเปิดช่วยหายใจที่เก็บสารได้เองสำหรับพนักงานดับเพลิง
  • เครื่องช่วยหายใจ ได้รับการอนุมัติโดยการทดสอบพิเศษในหัวข้อ 42 CFR ส่วนที่ 84.63(c)
ภายใต้หัวข้อ 42 CFR ส่วนที่ 84.63(c) มีการทดสอบพิเศษสองแบบ การทดสอบสองแบบนี้มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
  • ป้องกันการแทรกซึมของสารเคมี และต้านทานต่อกาซพิษและซาริน
  • ระดับการป้องกันระบบทางเดินหายใจโดยห้องปฏิบัติการ , Laboratory respirator protection level (LRPL)
ในการทดสอบการแพร่กระจายและแทรกซึมของสารเคมี , อุปกรณ์ทุกอย่างของเครื่องช่วยหายใจ ยกเว้นถังอากาศจะต้องต้านทานต่อกาซพิษและสารเคมีซารินเครื่องช่วยหายใจจะถูกทดสอบบนอุปกรณ์หุ่นจำลองที่ต่อเข้ากับเครื่องหายใจที่มีอัตราการไหลของอากาศ 40 ลิตรต่อนาที


การทดสอบ LRPL มีความจำเป็นสำหรับหัวข้อการทดสอบจำนวน 25 ถึง 40 รายการรายการทดสอบนี้มีการใช้ขนาดของใบหน้าหลายๆ ขนาดเพื่อจำลองตัวอย่างของใบหน้าบุคคลทั่วๆ ไป เพื่อที่จะผ่านการทดสอบ LRPL เครื่องช่วยหายใจจะต้องมีคะแนน 500 หรือมากกว่า ในไม่ต่ำกว่า 95%ของรายการทดสอบ
สำหรับข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อกำหนดของ CBRNสามารถเข้าไปที่เวบไซต์ของ  Centers for Disease Control and Prevention’s(CDC) NIOSH  ที่ http://www.cdc.gov/niosh/npptl/topics/respirators/



ระยะเวลาในการใช้งาน
ประเด็นที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่งในการพิจารณาเมื่อเลือก เครื่องช่วยหายใจ คือระยะเวลาในการใช้งานของ เครื่องช่วยหายใจ  เครื่องช่วยหายใจที่ได้รับการอนุมัติจาก NIOSH จะมีถังจ่ายที่สามารถจ่ายอากาศหายใจ 15 ,30, 45 หรือ 60 นาที  SCBAที่ได้รับการอนุมัติจาก NIOSHจะต้องไม่ถูกนำไปสับสนกับอุปกรณ์ช่วยในการหนีภัยขณะที่ทั้งสองระบบมีถังอากาศช่วยหายใจแต่อุปกรณ์ช่วยหลบหนีจะมีอากาศในช่วงเวลาที่น้อยกว่า โดยทั่วไปแล้วมีเพียง5 ถึง 10 นาที และมีวัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อหนีออกจากบริเวณที่มีกาซพิษหรือมีออกซิเจนไม่เพียงพอเท่านั้นซึ่งเครื่องช่วยหายใจจะไม่เหมือนกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการหนีภัย เนื่องจากเครื่องช่วยหายใจ ถูกอนุมัติให้ใช้ในการ เข้าหา พื้นที่ที่มีกาซพิษหรือพื้นที่ที่มีออกซิเจนไม่เพียงพอเท่านั้น เว้นแต่ผู้ซื้อต้องการให้ใช้ถังจ่ายอากาศหายใจสำหรับ 60 หรือ 45 นาทีจึงจะใช้ระบบขนาด 15 หรือ 30 นาทีเพื่อที่จะให้เกิดความประหยัดและสะดวกขึ้น เนื่องจากถังอากาศแบบ 15 และ 30นาทีจะมีขนาดเล็กกว่า โดยปกติมันจะมีขนาดเล็กกว่าและมีน้ำหนักเบากว่าถังแบบ 60 นาที ถึงแม้ว่าน้ำหนักจะแตกต่างกันไม่กี่ปอนด์แต่ก็ทำให้เกิดความสะดวกแตกต่างกันมากเมื่อถึงเวลาที่ผูกเข้ากับ เครื่องช่วยหายใจ ในการปฏิบัติภารกิจ


ความถี่ในการใช้งาน
ความสะดวกเป็นประเด็นที่จะต้องนำมาพิจารณาเมื่อพิจารณาว่าจำเป็นต้องใช้งานเครื่องช่วยหายใจ บ่อยแค่ไหน  ถ้าหากใช้ เครื่องช่วยหายใจเฉพาะในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ปิดวาล์วที่รั่วหรือทำการซ่อมบำรุงฉุกเฉินในพื้นที่จำกัดซึ่งความสะดวกสบายจะไม่จำเป็นมากเท่ากับสถานการณ์ที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็นประจำ  ถ้าต้องใช้ เครื่องช่วยหายใจ เป็นประจำความสะดวกสบายของผู้ที่สวมใส่จะมีความสำคัญสูงสุดโดยทั่วไปแล้วความสะดวกสบายจะหมายถึงน้ำหนักที่น้อยลง
มีสองวิธีการในการลดน้ำหนักของ เครื่องช่วยหายใจเทคนิคในการลดน้ำหนักสองวิธีนี้เกี่ยวข้องกับถังบรรจุอากาศของเครื่องช่วยหายใจ ผู้ผลิตทำการลดน้ำหนักของถังโดยการใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบาหรือโดยการบรรจุอากาศมากขึ้นในถังขนาดเล็ก และบางครั้งก็ใช้ทั้งสองวิธี





วัสดุที่ใช้ทำถังบรรจุอากาศ
แต่เดิมนั้น ถังบรรจุอากาศผลิตมาจากเหล็ก ในการลดน้ำหนักจึงได้มีการใช้อะลูมิเนียมมาเป็นทางเลือกในการทำถังท้ายที่สุดผู้ผลิตได้เริ่มใช้สารสังเคราะห์ผสมกับอะลูมิเนียมในการลดน้ำหนักลงไปอีก โดยทั่วไปถังเหล่านี้ถูกอ้างถึงในชื่อถังวัสดุคอมโพสิท ในหมวดหมู่ของคอมโพสิท มีถังแบบห่อหุ้มเป็นช่วงและแบบที่ถูกห่อหุ้มทั้งหมด
เมื่อไม่นานมานี้ ถังอากาศที่ใช้เคฟลาร์และคาร์บอนคอมโพสิทได้ถูกพัฒนาขึ้นถังอากาศแบบคาร์บอนเป็นแบบล่าสุดและเบาที่สุดในวิวัฒนาการของถังเครื่องช่วยหายใจ แต่ว่าน่าเสียดายสำหรับผู้ซื้อ ขณะที่น้ำหนักของถังลดลงแต่ราคาของเครื่องช่วยหายใจ เพิ่มขึ้นถังที่มีน้ำหนักเบายังมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าและต้องการการทดสอบที่บ่อยกว่าถังแบบอะลูมิเนียม ถังของเครื่องช่วยหายใจ ทุกแบบจำเป็นจะต้องมีการทดสอบเป็นระยะ ความถี่ของการบำรุงรักษาขึ้นอยู่กับวัสดุของถัง




ความดันสูงและความดันต่ำ
วิธีการอื่นๆ ในการทำให้ เครื่องช่วยหายใจ มีน้ำหนักเบาลงคือการบรรจุอากาศปริมาณมากเข้าไปในถัง มีการเลือกใช้ความดันสามระดับคือความดันสูง หมายถึงถังที่สามารถบรรจุความดัน 4500 PSI , ความดันปานกลางหมายถึงถังที่สามารถบรรจุความดัน 3000 PSI และความดันต่ำคือถังที่สามารถบรรจุความดัน 2216 PSI จากทั้งสามแบบนี้ ถังแบบ ความดันสูงและความดันต่ำเป็นแบบที่ใช้มากสำหรับเครื่องช่วยหายใจส่วนถังแบบความดันปานกลางใช้มากในการดำน้ำ
ทั้งเครื่องช่วยหายใจ แบบ 60 และ 45 นาทีจะใช้ถังแบบความดันสูงถังแบบความดันสูงมีความจำเป็นในการจ่ายอากาศในถังสำหรับหายใจเป็นเวลา 45ถึง 60 นาที ซึ่งสามารถสวมใส่ได้ด้วยความสะดวกสบาย
ถังเครื่องช่วยหายใจ แบบ 30 นาทีมีทั้งแบบความดันสูงและแบบความดันต่ำข้อดีของถังความดันสูงแบบ 30 นาทีคือมีน้ำหนักเบากว่าเนื่องจากมีขนาดที่เล็กกว่าถัง เครื่องช่วยหายใจ แบบ 30นาทีที่มีความดันต่ำ  ส่วนข้อเสียของระบบถัง 30นาทีแบบความดันสูงคือมีราคาสูงกว่าถังแบบความดันต่ำ
การเติมอากาศเป็นข้อด้อยอีกประการหนึ่งของถังแบบความดันสูงเป็นเรื่องค่อนข้างยุ่งยากในการหาสถานที่ที่สามารถเติมถังแบบความดันสูงได้หน่วยงานดับเพลิงท้องถิ่นเป็นสถานที่ที่ดีที่สุดในการเติมถังแบบความดันสูงถังแบบความดันต่ำสามารถเติมอากาศได้ที่ร้านอุปกรณ์ดำน้ำหรือหน่วยงานดับเพลิงท้องถิ่นของท่าน




เครื่องช่วยหายใจ แบบอื่นๆ  ภาพรวมอย่างคร่าวๆ
เอกสารนี้ได้เน้นเกี่ยวกับเครื่องช่วยหายใจแบบจ่ายอากาศตามความต้องการเนื่องจากเป็นเครื่องช่วยหายใจแบบที่ใช้มากในงานอุตสาหกรรมมีเครื่องช่วยหายใจแบบพื้นฐานอื่นๆ อยู่อีกสามแบบ คือ แบบความดัน ,แบบถังออกซิเจน , แบบสร้างอากาศได้เอง




เครื่องช่วยหายใจแบบความดันจำเป็นต้องใช้เมื่ออาจจะมีการรั่วซึมเข้ามาภายใน(เกิดจากความดันภายนอกที่เป็นลบระหว่างการหายใจเข้าที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในระบบความดัน) ซึ่งยอมรับไม่ได้ระบบนี้จ่ายแรงดันที่เป็นบวกให้กับชุดหน้ากากของเครื่องช่วยหายใจระหว่างการหายใจเข้าออก
เนื่องจากเครื่องช่วยหายใจแบบจ่ายอากาศตามความต้องการนั้นไม่ได้สัมพันธ์โดยตรงกับความดันของหน้ากาก ดังนั้น จึงอาจมีการรั่วซึมเข้ามาภายในได้มากกว่าเครื่องช่วยหายใจแบบที่ใช้ความดัน



เครื่องช่วยหายใจแบบถังออกซิเจนใช้ถังออกซิเจนอัด, วาล์วลดและปรับความดัน, ถุงหายใจ , หน้ากากและภาชนะบรรจุสารเคมีเพื่อดึงคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากลมหายใจออกของผู้สวมใส่ถังออกซิเจนแบบที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้จาก NIOSH คือ แบบที่ป้องกันได้45 นาที , 1 ชั่วโมง, 2 ชั่วโมง, 3 ชั่วโมง และ 4 ชั่วโมง


เครื่องช่วยหายใจแบบสร้างอากาศเอง มีความคล้ายคลึงกับแบบถังออกซิเจน ยกเว้นว่าไม่มีถังออกซิเจนอยู่การจ่ายออกซิเจนให้กับผู้สวมใส่เพื่อการหายใจนั้นมาจากภาชนะบรรจุสารเคมีในระบบภาชนะบรรจุนำอากาศที่หายใจออกและความชื้นมาแยกเป็นออกซิเจนซึ่งจะถูกส่งเข้าไปในถุงหายใจและหน้ากากตามลำดับ


แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม :
http://www.cdc.gov/niosh/npptl/topics/respirators/
http://www.nfpa.org/Home/index.asp   
ข้อมูลจาก thai-safetywiki
บริษัท สยามเซฟตี้พลัส จำกัด อุปกรณ์เซฟตี้ |อุปกรณ์ความปลอดภัย|Safety Shoes  
กลับไปรายการกระดานข่าว

เพื่อนบ้าน :อุปกรณ์ความปลอดภัย,safety shoes,safety footwear,กลูต้า