กลับไปรายการกระดานข่าว ตอบกลับ โพสใหม่
เครื่องช่วยหายใจสำหรับสู้ภัย(ผจญภัย)

มาตรฐานของ ANSI/NFPA 1981-1992EDITION ได้แก้ไขมาตราฐานความปลอดภัยในการใช้เครื่องช่วยหายใจของพนักงานดับเพลิงจากเดิมที่อนุญาตให้ใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดตัวกรองสารเคมี(Filter Type, Canister Masks) ในข้อกำหนดอุปกรณ์ดับเพลิงข้อ 19B เป็นให้ใช้เฉพาะเครื่องช่วยหายใจชนิดมีแหล่งจ่ายอากาศหายใจหรืออากาศอัดเท่านั้น และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่31 พฤษภาคม 2524 ซึ่งรวมไปถึงอุปกรณ์ต้องเป็นไปตามมาตรฐานดังนี้
1. Pressure Demand Respiratory Protectionมีอายุการใช้งานต้องไม่น้อยกว่า 30นาที
2. สามารถจ่ายอากาศได้มากกว่า 150%ของความต้องการของ NIOSH (กำหนดขั้นต่ำไว้ 40 ลิตร/นาที)
3. ผ่านการ Thermal Shock Test
4. การสั่นสะเทือน 9 ชั่วโมง โดยไม่ชำรุดเสียหาย
5. สายสะพายและอุปกรณจับยึดเป็นวัสดุทนไฟ(Flame and Heat Resistance)
6. ทนต่อการกัดกร่อนของเกลือ 5% เมื่อนำไปแช่ไว้นาน 48 ชั่วโมง
7. การใช้งานในห้องฝุ่น 1 ชั่วโมง โดยปกติ
8. วัสดุที่ทำช่องมอง(Lens) ต้องชุบผิวแข็งเพื่อป้องกันรอยขีดข่วนทั้งสองด้าน
9. การสื่อคำพูดในระยะ 5 ฟุต จะมีคุณภาพเสียงลดลงไม่มากกว่า 28%


เครื่องช่วยหายใจชนิดอากาศอัด หรือ มีแหล่งจ่ายอากาศหายใจ มี 2 ชนิด คือ
1.
ชนิดถังติดตัว (Self Contained Breathing Apparatus, SCBA)

2.
ชนิดถังติดตั้งประจำที่ หรือเครื่องอัดลมประจำที่ (Air-Line Respirator.)




1.
ชนิดถังติดตัว (Self -Contained Breathing Apparatus)
SCBA


ในสมัยแรกเป็นชนิดที่เรียกว่า DemandType คือชนิดที่เมื่อหายใจเข้าภายในหน้ากากจะมีกำลังดันบรรยากาศติดลบปัจจุบันสภาพการใช้งานทั่วไปมีความเกี่ยวข้องกับสารพิษจึงพัฒนาขึ้นมาเป็นระบบ Pressure Demand โดยที่ไม่ว่าจะหายใจเข้าหรือออก ภายในหน้ากากจะมีสภาพเป็นบวก คือ มีกำลังดันประมาณ 1 นิ้ว-น้ำตลอดเวลาเพื่อป้องกันมิให้แก๊สรั่วซึมเข้าไปภายในหน้ากากในจังหวะหายใจเข้าอันจะเป็นอันตรายต่อระบบหายใจ โดยทั่วไปจะมีถังอัดอากาศสำหรับหายใจโดยอากาศสำหรับหายใจต้องมีคุณภาพอากาศสูงกว่า Grade D. ตามมาตรฐาน ANSI/CGA G-7.1-1989 สำหรับการใช้งานบนบก และสูงกว่า Grade E. สำหรับกีฬาดำน้ำที่ลึกไม่เกิน125 ฟิต ลักษณะทั่วไปคือ ผู้ใช้จะต้องสะพายถังลมติดตัว อาจจะสะพายหลัง หรือสะพายเฉียงหรือสะพายที่สะโพกก็ได้ มีอายุ การใช้งานตั้งแต่ 5 นาทีจนถึง 1 ชั่วโมง


2.

ชนิดถังติดตั้งประจำที่หรือเครื่องอัดลมประจำที่ (Air-Line Respirator)


เนื่องจากงานบำรุงรักษาโดยทั่วไปจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจนานกว่า 1 ชั่วโมง หรือนานกว่าอายุการใช้งานของเครื่องช่วยหายใจสะพายหลังและ/หรือสถานที่ซึ่งเครื่องช่วยหายใจสะพายหลังไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่ได้ก็ต้องใช้ระบบที่เรียกว่าเครื่องช่วยหายใจชนิดสายอัดลม(Air-Line Respirator.) ซึ่งมีแบบต่างๆคือ
- Constant Flow
เป็นชนิดที่จ่ายอากาศหายใจเข้าหน้ากากตลอดเวลาไม่ว่าจะหายใจหรือไม่ โดยทั่วไปจ่ายอากาศจากเครื่องอัดอากาศโดยตรง
- Demand Type
เป็นแบบที่จ่ายอากาศภายในให้หายใจเมื่อสูดหายใจเข้าเท่านั้นและในขณะหายใจเข้ากำลังดันบรรยากาศภายในหน้ากากจะมีค่าเป็นลบ คือน้อยกว่าบรรยากาศปกติ
- Pressure Demand
เป็นแบบพัฒนาล่าสุด โดยภายในหน้ากากจะมีกำลังดันเป็นบวกตลอดเวลา ไม่ว่าจะหายใจเข้าหรือออก โดยทั่วไปอุปกรณ์จะประกอบด้วย
-ถังลม หรือเครื่องอัดลมชนิด Oil Less
-อุปกรณ์ทำความสะอาดอากาศ
-ท่อทางลม

-ชุดเครื่องช่วยหายใจ


คำเตือน ในกรณีที่นำไปใช้ในพื้นที่อันตรายอย่างยิ่งยวด จะต้องเป็นระบบที่มีถังลมติดตัวสำรอง 5 นาทีเพื่อใช้หนีภัยในกรณีที่ระบบลมหรือสายลมขัดข้อง

ข้อมูลจาก thai-safetywiki
บริษัท สยามเซฟตี้พลัส จำกัด อุปกรณ์เซฟตี้ |อุปกรณ์ความปลอดภัย|Safety Shoes  
กลับไปรายการกระดานข่าว

เพื่อนบ้าน :อุปกรณ์ความปลอดภัย,safety shoes,safety footwear,กลูต้า