1 #
พิมพ์หน้านี้
ขนาดฟอนต์: t T
การใช้ การเลือก และการดูแลรักษาอุปกรณ์ปกป้องระบบหายใจ
การใช้ การเลือก และการดูแลรักษาอุปกรณ์ปกป้องระบบหายใจ
การพัฒนาทางอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน นำมาซึ่งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆในกระบวนการผลิตและรูปแบบวิธีการทำงานรวมถึงแนวโน้มการนำสารเคมีมาใช้มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานมีโอกาสหรือความเสี่ยงในการสัมผัสหรือได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายมากขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต้องปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสารเคมีซึ่งมีการฟุ้งกระจายของสารเคมี ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของอนู ฝุ่น ก๊าซหรือไอระเหยในบรรยากาศการทำงาน ดังนั้นการมีมาตรการป้องกันโดยการจัดให้ผู้ปฏิบัติงานมีการใช้อุปกรณ์ปกป้องระบบหายใจอย่างถูกต้องเหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง
แนวทางหนึ่งในการสร้างเสริมสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าว คือการพัฉนาองค์ความรู้ของผู้ปฏิบัติงาน ผู้ประกอบการ นายจ้างเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานรวมถึงเจ้าหน้าที่ตรวจความปลอดภัยในการทำงานของภาครัฐเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและมีแนวคิดที่ถูกต้องเหมาะสม โดยจะแยกเป็น
- อันตรายจากการทำงานกับสารเคมี และการควบคุมป้องกัน
- การใช้อุปกรณ์ปกป้องระบบหายใจ
- การเลือก การใช้ และข้อจำกัดของอุปกรณ์ปกป้องระบบหายใจ
- โครงการปกป้องระบบหายใจ
- ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกอุปกรณ์ปกป้องระบบหายใจสำหรับสารเคมีชนิดต่าง ๆ
[td=50%]แนวทางในการเลือกหน้ากาก
*คัดจากนิตยสาร 3 M Safety Solutions
IDLH = ปริมาณสารพิษที่มีผลต่อชีวิตและสุขภาพอย่างทันที Immediately Dangerous to Life and Health)
การเลือกหน้ากาก ตามประสิทธิภาพการป้องกัน
ประเภทของหน้ากาก
สัดส่วนความเป็นอันตราย
SCBA (Self Contain Breathing
Apparatus
มากกว่า 1000
ชุดส่งผ่านอากาศแบบครอบครัวเต็มหน้า
(Full Face) ชุดส่งผ่านอากาศแบบครอบ
ศีรษะ (Helmet) และชุดส่งของ
น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1000
หน้ากากกรองอากาศแบบครอบเต็มหน้าชุดส่ง
ผ่านอากาศแบบครองครึ่งหน้า (Half Mask)
น้อยกว่าหรือเท่ากับ 50
ชุดส่งผ่านอากาศแบบครอบหน้าอย่างหลวม
(Loose-Fitting Facepiece)
น้อยกว่าหรือเท่ากับ 25
หน้ากากกรองอากาศแบบครอบครึ่งหน้า
น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10
สัดส่วนความเป็นอันตราย = ความเข้มข้นของสารพิษในบรรยากาศ
ค่าความเป็นพิษของสารนั้น (TLV)