กลับไปรายการกระดานข่าว ตอบกลับ โพสใหม่

อันตรายจากเสียง

ในการดำรงชีวิตของมนุษย์เรานั้นประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู ลิ้น จมูก และประสาทรับความรู้สึกสัมผัสมีความหมายอย่างยิ่งโดยเฉพาะ "หู" จัดว่ามีความสำคัญคู่เคียงกับตาทั้งนี้เพราะหูเป็นอวัยวะรับฟังเสียงเพื่อการสื่อความหมายสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจ และเข้าถึงเหตุการณ์ต่างๆซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตอย่างยิ่ง

กลไกการได้ยิน...

เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนจากโมเลกุลในอากาศจะถูกป้องโดยใบค่อยข้างกลมรี สีขาวขึงติดกับขอบของรูหูทำให้แก้วหูสั่นสะเทือนไปด้วย ติดกับแก้วหูถัดเข้าไปประกอบด้วยกระดูกเล็กๆ 3 ชิ้น ซึ่งมีรูปร่างคล้าย ค้อน ทั่ง โกลนม้าจึงเรียกกระดูก 3 ชิ้นนี้ว่า กระดูกค้อน กระดูกทั่ง กระดูกโกลนปลายด้านหนึ่งของกระดูกค้อนจะติดอยู่กับแก้วหูอย่างแน่นหนาอีกปลายจะต่อกับกระดูกทั่ง กระดูกทั่งจะต่อกับกระดูกโคลนและปลายอีกข้างหนึ่งของกระดูกโกลนวางอยู่บนหน้าต่างรูปไข่ซึ่งเป็นส่วนเริ่มต้นของประสาทรับฟังเสียงมีลักษณะเป็นท่อกลมขดซ้อนกันมีรูปร่างคล้ายก้นหอย เรียกว่า คลอเคลียภายในคลอเคลียประกอบด้วยของเหลวและอวัยวะรับเสียงซึ่งมีลักษณะคล้ายขนเรียกว่า "เซลล์ขน"ดังนั้นเมื่อกระดูกโกลนขยับจะทำให้ของเหลวในคลอเคลียกระเพื่อมและเซลล์ขนจะโบกไปมาแล้วรับความรู้สึกส่งไปยังประสาทหูสู่สมองใหญ่เพื่อแปลความหมายต่อไป

เสียงมีอันตรายอย่างไร

หูเรานั้นสามารถรับฟังเสียงได้ตั้งแต่ความถี่ 20 เฮิรตช์ ถึง 20,000 เฮิรตซ์แต่ช่วงความถึ่ของเสียงที่มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันมากคือช่วงความถี่ของเสียงพูด หรือความถี่ 500-2,000 เฮิรตซ์นอกจากนี้หูยังมีความสามารถและอดทนในการรับฟังเสียงในขอบเขตจำกัดหากเสียงเบาเกินไปก็จะไม่ได้ยินแต่ถ้าเสียงดังเกินไปก็จะทำให้เกิดอันตรายต่อหูหรือมีอาการปวดหูสำหรับผู้ที่ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังมากๆโดยเฉพาะผู้ทำงานในอุตสาหกรรมที่มีเสียงดัง เช่น โรงงานทอผ้าโรงงานปั้มโลหะ หรือผู้ที่อาศัยอยู่ในย่านตลาดหรือการจราจรคับคั่ง ฯลฯจะทำให้อวัยวะรับเสียงโดยเฉพาะเซลล์ขนและประสาทรับเสียงเสื่อมสภาพเร็วขึ้นทำให้ความสามารถในการได้ยินลดลงหรือเรียกว่า "หูตึง"และหากยังละเลยให้คงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังต่อไปก็จะทำให้"หูหนวก" ไม่สามารถได้ยินและติดต่อพูดคุยเช่นปกติได้ซึ่งมีผลให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความยากลำบากและต้องอับอายที่กลายเป็นคนพิการ สำหรับคนหูตึง หูหนวก ที่เกิดจากเสียงดัง ไม่รักษาให้หายได้ไม่ว่าโดยวิธีการใดก็ตาม การทำงานในที่เสียงดังนอกจากจะทำให้หูตึงหูหนวกแล้ว ยังมีผลต่อระบบการทำงานอื่นๆ ของร่างกายด้วย เช่นเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เนื่องจากเสียงดังทำให้กระเพาะหลั่งน้ำย่อยมากขึ้นความดันโลหิตสูง ต่อมไธรอยด์เป็นพิษ ขาดสมาธิในการทำงานจนเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้ทำให้เกิดความเครียดก่อให้เกิดโรคจิตประสาททำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงและเกิดความผิดพลาดมากขึ้น

เสียงดังแค่ไหนจึงจะเกิดอันตราย

ผลจากการศึกษาวิจัยได้มีการกำหนดมาตรฐานสากลขึ้นกำหนดให้ความดังของเสียงไม่เกิน 85 เดซิเบล (เอ) สำหรับผู้ปฏิบัตงาน 8ชั่วโมงต่อวัน หรือ 90 เดซิเบล (เอ) เมื่อทำงาน 4 ชั่วโมงต่อวัน

สำหรับมาตรฐานของไทย ซึ่งกำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมกำหนดให้ระดับความดังของเสียงที่ลูกจ้างได้รับติดต่อกัน ไม่เกิน 90เดซิเบล (เอ) หากทำงานไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง และไม่เกิน 80 เดซิเบล (เอ)หากทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมงผู้ที่ทำงานมีเสียงดังตามที่กำหนดในมาตรฐานดังกล่าวข้างต้นจะมีความเสี่ยงต่อการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินน้อยลงอีกหากสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงไว้ด้วย

ป้องกันอันตรายจากเสียงได้อย่างไร

ดังที่กล่าวไปแล้วว่าการสูญเสียการได้ยินซึ่งเนื่องมาจากเสียงดังนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ไม่ว่าโดยวิธีการใดๆ ก็ตามดังนั้นเพื่ออนุรักษ์สมรรถภาพการได้ยินของหูจำเป็นจะต้องป้องกันทุกครั้งที่สัมผัสเสียง และการป้องกันที่ได้ผลต้องเกิดจากความร่วมมือที่ดีของทุกฝ่ายที่เกี่ยงข้องคือฝ่ายนายจ้างควรคำนึงถึงโครงสร้างและวัสดุที่ใช้ก่อสร้างอาคารที่สามารถลดเสียงได้การติดตั้งเครื่องจักรบำรุงรักษาเครื่องจักรเพื่อให้เกิดเสียงน้อยที่สุดการจัดหาและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียง เช่น ที่อุดหูที่ครอบหู อย่างเข้มงวดและสม่ำเสมอการให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของเสียงแก่ลูกจ้างเพื่อสร้างทัศนคติและจิตสำนึกในการป้องกันอันตรายที่เกิดจากเสียงและเพื่อการประเมินผลและวางแผนป้องกัน ควรตรวจสอบสมรรถภาพการได้ยินของลูกจ้างเป็นประจำทุกปีและก่อนเข้าทำงานส่วนฝ่ายลูกจ้างควรให้ความร่วมมือปฏิบัติตามคำแนะนำและกฎระเบียบของนายจ้างเกี่ยวกับการป้องกันอันตรายจากเสียงอย่างเคร่งครัด
บริษัท สยามเซฟตี้พลัส จำกัด อุปกรณ์เซฟตี้ |อุปกรณ์ความปลอดภัย|Safety Shoes  
กลับไปรายการกระดานข่าว

เพื่อนบ้าน :อุปกรณ์ความปลอดภัย,safety shoes,safety footwear,กลูต้า