ปัญหาเสียงดังในงานอุตสาหกรรมนับได้ว่าเป็นปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่สำคัญ เสียงดังไม่ใช่เพียงแต่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาวะทางร่างกาย คือทำให้เกิดการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินหรือเกิดอันตรายต่อสภาพหูของผู้ปฏิบัติงานเท่านั้น หากแต่ยังก่อให้เกิดผลทางด้านจิตใจของผู้ปฏิบัติงาน รบกวนสมาธิการทำงานก่อปัญหาการสื่อสารผิดพลาดและนำมาซึ่งการเกิดอุบัติเหตุหรือประสบอันตรายจากการทำงานได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่สถานประกอบกิจการจะต้องมีการดำเนินมาตราการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อจัดการมลพิษทางเสียงจากการทำงานอย่างเหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเภทกิจการหรือกระบวนการที่ต้องสัมผัสหรือเกี่ยวข้องกับที่ที่มีเสียงดังเกินเกณฑ์มาตรฐานแม้จะมีการจัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลใช้แต่หากไม่มีมาตรการเชิงบริหารจัดการที่ดีก็ย่อมไม่ทำให้บรรลุสัมฤทธิผลในเชิงป้องกัน แนวทางหนึ่งในการสร้างเสริมสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าว คือการพัฉนาองค์ความรู้ของผู้ปฏิบัติงาน ผู้ประกอบการ นายจ้างเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานรวมถึงเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานของภาครัฐเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและมีแนวคิดที่ถูกต้องเหมาะสม โดยจะแยกเป็น
1. ความจำเป็นที่ต้องมีการจัดการมลพิษทางเสียง
2. มาตรฐานเสียงจากอุตสาหกรรม
3. การประเมินการสัมผัสเสียง
4. การจัดทำโครงการการอนุรักษ์การได้ยิน
5. การเฝ้าระวังการได้ยิน และระบบการส่งต่อ
6. อุปกรณ์ป้องกันการสูญเสียการได้ยิน
ภาคผนวก ก. ข. ค.
ที่มา : หนังสือการจัดการมลพิษทางเสียงจากอุตสาหกรรม
ผู้แต่ง รศ.สราวุธ สุธรรมาสา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
|