12 สิ่งควรรู้เกี่ยวกับอาการตาล้า (Eyestrain)
1. อาการตาเพลียหรือตาอ่อนล้าในแต่ละคน จะต่างกันไป บางคนอาจจะแสบตา รู้สึกตึงๆ ปวดลึกๆ ปวดตุ๊บๆ น้ำตาไหล ตาพร่า เห็นภาพซ้อน ปวดหัว และอาการอื่นๆ ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ถ้าคุณรู้สึกไม่สบายตาเวลามอง อาจเป็นไปได้ว่านั่นคืออาการตาล้า 2. ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ ปัจจัยหลักที่มีผลกระทบต่อสมรรถภาพการมองเห็น ได้แก่
-แสงจ้า
-ความแตกต่างของแสงสว่างระหว่างวัตถุที่เราจ้องมองอยู่กับสภาพแวดล้อม
- ปริมาณของแสง
- ระยะห่างระหว่างตาและจอภาพและเอกสาร
- คุณสมบัติของหน้าจอและตัวเอกสารที่จะทำให้อ่านได้ยากหรือง่าย
- สายตาของคนนั้นๆ และเลนส์ที่ใส่เพื่อแก้ไขปัญหาการมองเห็น
3. ตาล้าเกิดจากการจ้องแสงจ้าที่ส่องมาโดยตรง (Direct glare) ได้แก่ การจ้องบรรดาแหล่งกำเนิดแสงต่างๆ ที่ฉายเข้าตาโดยตรง เช่น ไฟเพดาน ไฟจากตัวงาน หรือ หน้าต่างที่เป็นแสง ซึ่งสามารถตรวจสอบว่าเป็นแสงจ้าที่ส่องมาโดยตรงหรือไม่ ทำได้โดยเอามือปิดตา และสังเกตุว่าคุณรู้สึกดีขึ้นโดยทันทีหรือไม่
4. ตาล้าเกิดจากแสงจ้าแบบสะท้อน (Reflected glare) เช่น จอคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้เมื่อยตาได้ แต่ผลกระทบที่แย่ที่สุดอาจเกิดจากการที่คุณต้องเปลี่ยนท่าไปนั่งท่าที่ไม่สู้สบายเพื่อให้มองเห็นได้ชัดขึ้น
5. สาเหตุของตาล้า ที่มักโดนมองข้ามก็คือความแตกต่างกันของแสง (contrast) ตัวอย่างเช่น
จอมืดที่รอบล้อมด้วยพื้นหลังที่สว่าง เช่น หน้าต่างหรือกำแพงที่มีไฟสว่าง วิธีแก้ที่ดีที่สุดคือ หาทางที่จะลดความสว่างรอบๆ จอ หรืออาจจะตาล้าได้เมื่อบนจอมีตัวหนังสือสว่างและพื้นหลังมืด
6. คำถามที่มักจะถามกันบ่อยๆ ก็คือ ต้องสว่างเท่าไรถึงจะดี? คำตอบก็คือ ขึ้นอยู่กับอายุของคุณ คุณภาพของสิ่งพิมพ์ที่คุณอ่าน และปัจจัยอื่นๆ แสงสว่างปริมาณมากอาจจะทำให้อ่านง่าย แต่แสงที่สว่างเกินไปก็ทำให้เกิดตาล้าได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
7. ตาล้าจะเกิดจากการมองใกล้มากกว่ามองไกล ระยะที่เหมาะสมสำหรับจอคอมพิวเตอร์และเอกสารขึ้นอยู่กับความสามารถในการอ่านได้อย่างชัดเจนในระยะที่กำหนด ดังนั้น ให้วางเอกสารไว้ในระยะที่ไกลที่สุดเท่าที่สายตาจะอ่านได้อย่างชัดเจน
8. ถ้าคุณจ้องบางสิ่งนานเกินไป ตาของคุณจะล้าได้ ตาต้องการที่จะโฟกัสในระยะที่ต่างกันจากเวลาหนึ่งสู่เวลาหนึ่ง ความคิดที่ดีคือทำตามกฎ 20/20 ทุกๆ 20 นาทีให้มองไปไกล 20 ฟุตเป็นเวลา 20 วินาที
9. ถ้าตามองวัตถุสองชิ้นที่อยู่ห่างกันแค่สองนื้ว ตาจะไม่ต้องปรับเมื่อมองวัตถุหนึ่งสู่วัตถุหนึ่ง
ระยะห่างที่มากขึ้นทำให้ตาทำงานหนักจากการมองจากวัตถุหนึ่งไปอีกวัตถุหนึ่งบ่อยๆ การพิมพ์ที่ต้องมองต้นฉบับและหน้าจอสลับกัน ควรวางต้นฉบับให้ห่างในระยะพอๆ กันถ้าคุณต้องมองไปๆ มาๆ บ่อยๆ 10. คนมักถามว่า การทำงานกับคอมพิวเตอร์ทำให้สายตาสั้นหรือไม่? จากการสอบถามจักษุแพทย์ ตอบว่ายากมาก แต่ส่วนใหญ่การทำงานกับคอมพิวเตอร์ทำให้คุณตระหนักว่าตาคุณต้องใช้แว่นตาแล้ว 11. บางทีตาล้าที่เกิดขึ้น จะอยู่ในกรณีของตาแห้ง การปรับจอคอมพิวเตอร์ให้ต่ำลงจะช่วยได้ การมองต่ำทำให้ดวงตาได้รับการปกคลุมจากหนังตา และทำให้ตากระพริบบ่อยขึ้น และ เกิดน้ำหล่อเลี้ยงในตามากขึ้น
12. คนที่ต้องการใช้แว่นตาสองเลนส์ (bifocals) ควรพิจารณาทางเลือกอื่นด้วย สองทางเลือกที่ดี ได้แก่
- แว่นตาสำหรับทำงานคอมพิวเตอร์ซึ่งโฟกัสที่ระยะที่ถูกต้องสำหรับจอคอมพิวเตอร์
- สวมคอนแทคเลนส์ ปรับความถูกต้องสำหรับคอมพิวเตอร์หรือการอ่านหนังสือในตาข้างหนึ่ง และอีกข้างหนึ่งสำหรับการมองระยะไกล
ผู้สวมแว่นตาสองเลนส์ (Bifocal) มักมีประสบกับอาการปวดคอและไหล่ เพราะพวกเขาต้องเอนศีรษะไปด้านหลังเพื่อมองจอคอพิวเตอร์ ซึ่งปรับได้ ดังนี้
- เลื่อนจอให้ต่ำเท่าที่จะทำได้ ถ้าจอวางอยู่บน CPU ให้ย้าย CPU
- ถ้าจำเป็น ให้เอาฐานรองจอออก (ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ก่อน) เพื่อให้ต่ำลงมาอีกสักสองนิ้ว
- ปรับโต๊ะที่วางจอให้ต่ำลง |