กลับไปรายการกระดานข่าว ตอบกลับ โพสใหม่

ประเภทของถังดับเพลิง(เคมีแห้ง CO2 โฟม และอื่นๆ) and Fire rating

การตรวจสอบเครื่องดับเพลิง
- ใน กรณีมีมาตรวัด ให้ดูเข็มให้ชี้อยู่ในแถบสีเขียว ถ้าเข็มเอียงไปในด้านซ้ายมือ แสดงว่าแรงดันในถังไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้สมบูรณ์ ให้รีบดำเนินการนำไปอัดแรงดันเพิ่มเติม

รูป
Pressure Gauge ของถังดับเพลิง อยู่ในสถานะแรงดันไม่พร้อมใช้ ต้องอัดแรงดันเพิ่มรูป Pressure Gauge ของถังดับเพลิ อยู่ในสถานะแรงดันไม่พร้อมใช้ ต้องอัดแรงดันเพิ่ม

          - ในกรณีไม่มีมาตรวัด จะเป็นถังดับเพลิงประเภทซีโอทูให้ใช้การตรวจสอบจากการชั่งน้ำหนักถ้าน้ำหนักลดลงเกิน 20 % ให้นำไปอัดซีโอทูเพิ่ม


การบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิง
เครื่องดับเพลิง เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญต่อชีวิต และทรัพย์สินเป็นอย่างยิ่ง จึงควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว นานขั้นตอนที่สำคัญในการบำรุงรักษา คือ

1.      ไม่ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงไว้ในพื้นที่อุณหภูมิสูง  มีควาชื้น  หรือเกิดความสกปรกได้ง่าย เช่น ตากแดด ตากฝน ติดตั้งใกล้จุดกำเนิดความร้อนต่างๆอาทิ หม้อต้มน้ำ  เครื่องจักรที่มีความร้อนสูง เตาหุงต้ม ห้องอบต่างๆ เป็นต้น
2.      ทำความสะอาดตัวถังและอุปกรณ์ประกอบ (สายฉีด,หัวฉีด)เป็นประจำ สม่ำเสมอ (อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง) เพื่อให้ดูดีมีระเบียบและพร้อมใช้งาน
3.      หากเป็น เครื่องดับเพลิงผงเคมีแห้ง ควรเคลื่อนผงเคมีที่บรรจุอยู่ภายใน โดยยกถังพลิกคว่ำ-พลิกหงาย 5-6 ครั้ง (จนแน่ใจว่าผงเคมีแห้งไม่จับตัวเป็นก้อน) อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
4.      ตรวจสอบสลากวิธีใช้  ป้ายบอกจุดติดตั้ง ป้าย แสดงกำหนดการบำรุงรักษา  และผู้ตรวจสอบ (Maintenance Tag ) ให้สามารถอ่านออกได้ชัดเจนตลอดเวลา

เครื่องดับเพลิงมือถือเครื่องดับเพลิงมือถือ
แยกออกได้ 6 ประเภทใหญ่ ตามสารดับเพลิงที่บรรจุในเครื่องดับเพลิง



เครื่องดับเพลิงชนิดกรดโซดา ( Soda  Acid )


ลักษณะถังบรรจุ   : ถังสีแดงไม่มีสาย ไม่มีคันบีบ
ลักษณะการใช้งาน : ต้องกระแทรกให้หลอดบรรจุกรดโซดาแตก ที่บริเวณหัวถัง  เพื่อทำปฏิกิริยากับ น้ำในถังทำให้เกิด แก๊สเป็นแรงขับดันในถัง แล้วคว่ำหัวถังลง แล้วน้ำจะพุ่งผ่านหัวฉีดเข้าดับไฟ
ใช้ดับไฟประเภท  
: ไฟประเภท  A อย่างเดียว
สถานะปัจจุบัน     : ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยม ไม่มีจำหน่ายในเมืองไทยแล้ว



เครื่องดับเพลิงชนิดฟองโฟม ( Foam )


ลักษณะถังบรรจุ   : นิยมบรรจุในถังอลูมิเนียมสีครีมหรือถังสแตนเลส มีหัวฉีดเป็นหัวฝักบัว บรรจุอยู่ในถังที่มีน้ำยาโฟม ผสมกับน้ำแล้วอัดแรงดันเข้าไว้ (นิยมใช้โฟม AFFF)
ลักษณะการใช้งาน : เวลาใช้ ถอดสลักและบีบคันบีบบริเวณด้ามจับ แรงดันที่อัดไว้จะดันน้ำผสมกับโฟมยิงผ่านหัวฉีดฝักบัว พ่นออกมาเป็นฟอง กระจายไปปกคลุมบริเวณที่เกิดไฟไหม้ ทำให้การอับอากาศ ทำให้ไฟขาดออกซิเจน และลดความร้อนที่เป็นองค์ประกอบการเกิดไฟ 2 ใน 3 ตัว
ใช้ดับไฟประเภท  :B และ A


เครื่องดับเพลิงชนิดน้ำสะสมแรงดัน ( Water Pressure )


ลักษณะถังบรรจุ   : บรรจุถังแสตนเลส หรือ บรรจุถังกันสนิมสีแดง บรรจุน้ำอยู่ในถัง แล้วอัดแรงดันน้ำเข้าไว้ จึงเรียกว่า
น้ำสะสมแรงดัน
ลักษณะการใช้งาน : เวลาใช้ ถอดสลักและบีบคันบีบบริเวณด้ามจับ แรงดันที่อัดไว้จะดันน้ำที่บรรจุภายในถัง ดันผ่านหัวฉีดฝักบัว
ใช้ดับไฟประเภท  : ใช้ดับไฟประเภท A
คุณสมบัติของสารดับเพลิง น้ำ

เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือ ซีโอทู
(Carbondioxide)


ลักษณะถังบรรจุ   : นิยมบรรจุถังสีแดง  ต่างประเทศบรรจุถังสีดำ ภายในบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในถังที่ทนแรงดันสูง ประมาณ
800 -1200 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว ที่ปลายสายฉีดจะมีลักษณะเป็นกรวย
ลักษณะการใช้งาน : เวลาใช้ ถอดสลักและบีบคันบีบบริเวณด้ามจับ จะพ่นหมอกหิมะออกมาไล่ความร้อน และออกซิเจนออกไป โดยฉีดเข้าใกล้ฐานของไฟให้มากที่สุด ประมาณ 1.5 - 2  เมตร
  เมื่อ ใช้งานแล้วจะไม่มีสิ่งสกปรกหลงเหลือ เวลาใช้งานจะเสียงดังเล็กน้อยเวลาใช้งาน นิยมใช้งานภายในอาคารที่ต้องการความสะอาดหรือ มีอุปกรณ์ อิเล็กโทรนิก
ใช้ดับไฟประเภท  : ใช้ดับไฟประเภท C และ B
คุณสมบัติของสารดับเพลิงก๊าซคาร์บอน์ไดออกไซค์

เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ( Dry Chemical Powder )


ลักษณะถังบรรจุ   : บรรจุถังสีแดง ต่างประเทศบรรจุถังสีฟ้า บรรจุผงเคมี ซึ่ง มีหลายชนิด หลายคุณภาพไว้ในถัง แล้วอัดแรงดันเข้าไป เวลาใช้
ขบวนการทำงาน  : ผงเคมีจะถูกดันออกไป คลุมไฟทำให้อับอากาศ และสารเคมีตัดกระบวนการทางเคมี
ลักษณะการใช้งาน : เวลาใช้ ถอดสลักและบีบคันบีบบริเวณด้ามจับ แรงดันจะผลักดันผงเคมีแห้งออกมา
ข้อพิจารณาการใช้ : ควรใช้ภายนอกอาคาร เพราะผงเคมีจะพุ้งเป็นฝุ่นละอองฟุ้งกระจายทำให้เกิดความสกปรก และเป็นอุปสรรคในการเข้าผจญเพลิง อาจทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าราคาแพง เสียหายได้
ใช้ดับไฟประเภท  
: ใช้ดับไฟได้ดีคือ ไฟประเภท B ผงเคมีไม่เป็นสื่อไฟฟ้า
   สามารถดับไฟประเภท C ได้ (แต่อุปกรณ์ไฟฟ้าอาจเสียหายจากผงเคมี)
คุณสมบัติของสารดับเพลิงเคมีแห้ง

เครื่องดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย ฮาโลตรอน  ( Halotron )


ลักษณะถังบรรจุ   : บรรจุถังสีเขียว หรือเหลือง แต่เดิมบรรจุน้ำยาเหลวระเหย ชนิด  โบรโมคลอโร ไดฟลูออโร ซึ่งเป็นสาร CFC ไว้ในถัง ใช้ดับไฟได้ดีแต่มีสารพิษ และในปัจจุบันองค์การสหประชาชาติ ประกาศให้เลิกผลิตพร้อมทั้งให้ทุกประเทศ
ลด ละ การใช้จนหมดสิ้น เพราะเป็นสารที่ทำลายสิ่งแวดล้อม
ลักษณะการใช้งาน : เวลาใช้ ถอดสลักและบีบคันบีบบริเวณด้ามจับ สามารถฉีดใช้ได้ไกลกว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไซด์ คือระยะ 3-4 เมตร
ใช้ดับไฟประเภท   
: ใช้ดับไฟประเภท C และ B ส่วนไฟประเภทต้องมีความชำนาญ



ไฟแยกประเภทได้ชั้นได้ อยู่ 5 ชั้นคือ A,B,C,D,K ตามตารางข้างล่างนี้

Classification Fire

Synbol

Description

ไฟประเภท เอ
มีสัญลักษณ์เป็น รูปตัว A สีขาวหรือดำ อยู่ในสามเหลี่ยมสีเขียว
ไฟประเภท A คือ ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นของแข็งเชื้อเพลิงธรรมดา เช่น ฟืน ฟาง ยาง ไม้
ผ้า กระดาษ พลาสติก หนังสัตว์
ปอ
นุ่น
ด้าย
รวมทั้งสิ่งมีชีวิต
วิธีดับไฟประเภท A ที่ดีที่สุด คือ การลดความร้อน (Cooling) โดยใช้น้ำ


ไฟประเภท บี มีสัญลักษณ์เป็นรูปตัว B สีขาวหรือดำ อยู่ในรูปสี่เหลี่ยม สีแดง
ไฟประเภท B คือ ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นของเหลวและก๊าซ เช่น น้ำมันทุกชนิด  แอลกอฮอล์ ทิเนอร์ ยางมะตอยจารบี
และก๊าซติดไฟทุกชนิด
เป็นต้น
วิธีดับไฟประเภท B ที่ดีที่สุด คือ กำจัดออกซิเจน ทำให้อับอากาศ โดยคลุมดับ ใช้ผงเคมีแห้ง ใช้ฟองโฟมคลุม

ไฟประเภท ซี มีสัญลักษณ์เป็นรูป C สีขาวหรือดำ อยู่ในวงกลมสีฟ้า
ไฟประเภท C คือ ไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นของแข็งที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด

การอาร์ค การสปาร์ค
วิธีดับไฟประเภท C ที่ดีที่สุด คือ ตัดกระแสไฟฟ้า แล้วจึงใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ น้ำยาเหลวระเหยที่ไม่มี CFC ไล่ออกซิเจนออกไป


-

ไฟประเภท ดี

มีสัญลักษณ์เป็นรูปตัว D สีขาวหรือดำ อยู่ในดาว 5 แฉก สีเหลือง
ไฟประเภท D คือไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นโลหะและสารเคมีติดไฟ เช่น วัตถุระเบิด,ปุ๋ยยูเรีย (แอมโมเนียมไนเตรต), ผงแมกนีเซียม ฯลฯ
วิธีดับไฟประเภท D ที่ดีที่สุด คือ การทำให้อับอากาศ  หรือใช้สารเคมีเฉพาะ (ห้ามใช้น้ำเป็นอันขาด)
ซึ่งต้องศึกษาหาข้อมูลแต่ละชนิดของสาร เคมีหรือโลหะนั้นๆ

ไฟประเภท เค

มีสัญลักษณ์เป็นรูปตัว K สีขาว อยู่ในรูปแปดเหลี่ยมสีดำ
ไฟประเภท K คือไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นโลหะติดไฟ น้ำมันติดไฟ ออกแบบมาสำหรับใช้งานในห้องครัวโดยเฉพาะ

วิธีดับไฟประเภท K ที่ดีที่สุด คือ การทำให้อับอากาศ  หรือใช้สารเคมีเฉพาะ (ห้ามใช้น้ำเป็นอันขาด)

อัตราการดับเพลิง (Fire Rating)

การกําหนดอัตราการดับเพลิงของเครื่องดับเพลิงมือถือ จะมีการอ้างอิงการทดสอบตามมาตรฐานของ Underwriter’s Laboratories Inc. (UL) ประเทศ สหรัฐอเมริกา โดยให้สถาบันที่เชื่อถือได้เป็นผู้ทําการทดสอบหรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องดับเพลิงมือถือชนิดผงเคมีแห้ง ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1970 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ตารางที่ 4.3.3 เป็นตัวอย่างการกําหนดอัตราการดับเพลิงของ เครื่องดับเพลิงมือถือ สามารถนําไปดับไฟประเภท ก (Class A) โดยทดสอบกับไม้ที่มีขนาดต่างๆกัน
ดังตารางข้างล่าง
ตารางแสดงอัตราการดับเพลิงของ เครื่องดับเพลิงมือถือ ไฟประเภท A

มาดูส่วนประกอบภายในถังดับเพลิงแต่ละชนิดกันดีกว่า


เครื่องดับเพลิงชนิดกรดโซดา( Soda  Acid )




เครื่องดับเพลิงชนิด ซีโอทู (Carbondioxide)





เครื่องดับเพลิง ชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical Powder )




คุณสมบัติของสารดับเพลิงแบบต่างๆ


คุณสมบัติของสารดับเพลิง ผงเคมีแห้ง
1.      ใช้ในการดับเพลิงประเภท A , B และ C
2.      ผงเคมีแห้งไม่เป็นสื่อของกระแสไฟฟ้าจึงดับไฟประเภท C ได้แต่ควรจะพิจารณา เช่น ถ้า เป็นห้องปฏิบัติการด้านคอมพิวเตอร์ไม่ควรใช้เนื่องจากจะก่อให้เกิดความเสีย หายต่อวงจรไฟฟ้าส่วนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องเนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นเกลืออ่อน
3.      ผงเคมีแห้งให้ผลในการคลุมดับไฟได้ดีเพราะผลการกระจายตัวออกมามีผลในการคลุมดับไฟได้มากและยังหนักกว่าอากาศ จึงสกัดกั้นออกซิเจนในอากาศในการที่จะทำปฏิกิริยากับเชื้อเพลิงได้ดี
4.      ผงเคมีแห้งจึงมีลักษณะในการกำบังความร้อนของผู้ใช้ โดยที่ผงเคมีมีลักษณะการทำปฏิกริยากับความร้อนมุ่งกระจายออกไปยังมีความเย็นจากการเป็นน้ำแข็งแห้งประมาณร้อยละ 30 ช่วยป้องกันความร้อนของผู้ใช้แต่ไม่สามารถดูดกลืนความร้อนได้ดีเท่าน้ำ เพราะดูดกลืนได้เพียง 94 กิโลแคลอรีเท่านั้น จึงไม่สามารถใช้ในการลดอุณหภูมิได้ดีเท่ากับน้ำแล้วดูดกลืนความร้อน เช่น ปฏิกิริยาของผงโซเดียมไบคาร์บอเนตทำปฏิกิริยากับความร้อน บางส่วนจะสลายตัวเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ โซเดียมไบคาร์บอเนต 1 ปอนด์ ต่อ 4.5 ลูกบาศก์ฟุต ออกมาช่วยคลุมดับ
5.      สะดวกในการใช้และการบำรุงรักษา รวมทั้งยังมีอายุการใช้งานได้ยาวนานเพราะตัวยาไม่เสื่อมคุณภาพ
6.      ผงเคมีแห้งไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะทำปฏิกิริยากับความร้อนแล้วไม่เกิดก๊าซพิษมากนักและคุณสมบัติของผงเคมีเป็นเกลืออ่อน ผงเคมีแห้งที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้แยกออกตามคุณสมบัติในการดับไฟได้ 2 ประเภท คือ
a.        ประเภทธรรมดา ( Ordinary Dry Chemicals ) ใช้ในการดับเพลิงประเภท B C ซึ่งมีตัวผงเคมีที่ใช้เป็นหลัก ดังนี้คือ ผงเคมีแห้งที่มีตัวผงเคมีโซเดียมไบคาร์บอเนต โปตัสเซียมไบคาร์บอเนต โปรตัสเซียมซัลเฟตและโปรตัสเซียมคลอไรด์
b.        ประเภทอเนกประสงค์ ( Multi Purpose Dry Chemicals ) ใช้ในการดับไฟประเภท A , B และ C ผงเคมีที่ใช้เป็นหลักคือ ผงเคมีแห้งที่มีตัวผงแอมโมเนียมฟอสเฟต
คุณสมบัติของสารดับเพลิง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซเฉื่อย ไม่ช่วยในการลุกไหม้มีความหนาแน่นไอ 1.5 เท่าคือหนักกว่าอากาศ 1.5 เท่าและไม่เป็นสื่อของกระแสไฟฟ้า
การดับเพลิงจึงได้ผลในการคลุมดับโดยที่ก๊าซกระจายตัวออกไปและหนักกว่าอากาศ
จึงปิดกั้นออกซิเจนในอากาศที่จะเข้าทำปฏิกิริยากับเชื้อเพลิง
หรือทำให้อัตราส่วนผสมของไอเชื้อเพลิงกับอากาศไม่พอเหมาะที่จะถึงขั้นจุดติดไฟได้
คุณสมบัติของสารดับเพลิง น้ำ

คุณสมบัติในการดับเพลิงเป็นคุณสมบัติของน้ำที่สามารถดูดกลืนความร้อนหรือลด
อุณหภูมิของเชื้อเพลิงซึ่งน้ำสามารถดูดกลืนความร้อนได้ถึง 116 กิโลแคลอรี และการที่จะฉีดน้ำเป็นละอองน้ำเพิ่มขึ้น 170 เท่า
น้ำจะไปควบคุมเพลิงไหม้ให้เย็นตัวลงและซึมเข้าไปในเชื้อเพลิงที่กำลังลุกไหม้
และถ่ายเทความร้อนจากเชื้อเพลิงจนอุณหภูมิต่ำกว่าจุดติดไฟ ไฟจึงดับลง

ข้อพึงระวังในการใช้เครื่องดับเพลิงมือถือ
เครื่องดับเพลิงมือถือ ไม่ควรมีน้ำหนักเกิน
40 ปอนด์
การติดตั้งต้องมองเห็นได้เด่นชัดและต้องตรวจตราซ่อมบำรุงให้ใช้ได้ตลอดเวลา
ควรตรวจดูอย่างน้อยเดือนละครั้ง ต้องติดตั้งไม่ให้สูงจากพื้นไม่ต่ำกว่า 1 เมตรและไม่ควรสูงเกินกว่า
1.40 เมตร
สะดวกแก่การเข้าไปหยิบใช้
ซึ่งมีข้อควรคำนึงอยู่ 5 ประการ
1.      การใช้เครื่องดับเพลิงมือถือ ต้องให้ถูกต้องกับประเภทของไฟและบริเวณพื้นที่
ซึ่งต้องให้คุ้มครองป้องกันอัคคีภัยต่อเครื่องดับเพลิง 1 เครื่องและให้จำนวนเครื่องดับเพลิงมากกว่า 1 เครื่อง
ตามสัดส่วนของพื้นที่และเศษของพื้นที่ที่เหลือให้นับเป็นพื้นที่เศษส่วน
2.      จำนวน
ของเครื่องดับเพลิงเคมีต่อพื้นที่ต้องให้เหมาะสมและพอเพียงกับความต้องการใน
การป้องกันอัคคีภัยตามกำหนดปริมาณเครื่องดับเพลิงต่อพื้นที่
3.      น้ำเป็นตัวที่ดับเพลิงได้ดีที่สุดในการป้องกันอาคารและดับเพลิงประเภทธรรมดาเนื่องจากหาได้ง่าย
4.      สำหรับไฟที่เกิดจากของเหลวที่ติดไฟง่ายหกเรี่ยราดนั้น
ใช้ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งจะดีที่สุด แต่คาร์บอนไดออกไซด์หรือบีซีเอฟ ( BCF ) ก็ใช้ได้ในบางกรณีสำหรับของเหลวที่ติดไฟได้ไหม้ในถังหรือภาชนะนั้นการใช้แบบโฟม (ฟอง ) นั้นถือว่าดีที่สุด
5.      สำหรับไฟที่ไหม้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ยังมีกระแสไฟอยู่ให้ใช้คาร์บอนไดออกไซด์หรือบีซีเอฟ ( BCF ) เครื่องดับเพลิงชนิดที่เป็นไอของเหลวนั้นเหมาะสำหรับไฟเล็กๆที่ไหม้ของเหลวติดไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้า
แต่ก็ไม่ควรใช้ในที่อับเพราะไอของเหลวนั้นจะมีพิษ

ข้อมูล รูปภาพจาก
hxxp://en.wikipedia.org/wiki/Fire_extinguisher
hxxp://www.answers.com
hxxp://www.fara.ksc.th.org
hxxp://www.dkimages.com
hxxp://www.wks.hk/english/foam.html
hxxp://www.globalsecurity.org
hxxp://www.fireturnkey.com/ext_types.html
hxxp://www.global-b2b-network.com/
hxxp://www.setonresourcecenter.com[/url]
hxxp://www.abcoffice.com/fire-extinguisher-guide.htm
hxxp://www.scienceandsociety.co.uk
บริษัท สยามเซฟตี้พลัส จำกัด อุปกรณ์เซฟตี้ |อุปกรณ์ความปลอดภัย|Safety Shoes  
กลับไปรายการกระดานข่าว

เพื่อนบ้าน :อุปกรณ์ความปลอดภัย,safety shoes,safety footwear,กลูต้า